Page 228 - kpiebook65043
P. 228

22    สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


           โดยรัฐมีสถานะเป็นนิติบุคคล และมีรัฐบาลเป็นผู้แทนนิติบุคคลกระทำการในนามของรัฐ
           ซึ่งจะต้องแยกออกจากการกระทำที่กระทำเป็นการส่วนตัวไม่ได้ทำในนามของรัฐ ทั้งนี้ ในสมัยที่
           มีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นถือเป็นระบอบที่ไม่มีการแยกรัฐและรัฐบาล
           ออกจากกัน จนมีคำกล่าวของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กษัตริย์ที่ปกครองประเทศฝรั่งเศสว่า

           “l’Etat, c’est moi”. หรือที่ภาษาไทยแปลว่า “ข้านี่แหละคือรัฐ” แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
           การปกครองเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนแล้ว
           ก็ต้องมองว่า รัฏฐาธิปัตย์นั้นคือประชาชน หรือว่า รัฐ ก็คือ ประชาชน นั่นเอง ดังนั้น คำว่า

           “ความมั่นคงของรัฐ” ในนิยามของรัฐประชาธิปไตยจึงจะต้องหมายถึง ความมั่นคงของ
           ประชาชน และการใช้อำนาจของรัฐแม้จะอ้างว่าเป็นการใช้อำนาจเพื่อความมั่นคงก็ตาม
           ก็จะต้องอยู่ภายใต้หลักนิติธรรมเช่นเดียวกัน

                 อย่างไรก็ตาม ปริญญาได้สะท้อนให้เห็นภาพอีกประเด็นก็คือในกรณีที่รัฐบาลในประเทศ

           ใดก็ตามอยู่ในอำนาจไปนาน ๆ ก็อาจเกิดความเคยชินและคิดว่ารัฐและรัฐบาลไม่สามารถ
           แยกออกจากกันได้จึงเกิดการตีความว่า ความมั่นคงของรัฐก็คือความมั่นคงของรัฐบาล

                 และที่ขาดไม่ได้คือการมองว่า แท้จริงแล้วความมั่นคงของรัฐมีขึ้นเพื่ออะไร ?
           ซึ่งในประเด็นนี้ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ได้ให้ความเห็นไปในทางที่สอดคล้องกับปริญญาเกี่ยวกับ

           การมองว่าความมั่นคงของรัฐ คือ ความมั่นคงของประชาชน โดยอาทิตย์ยังกล่าวเสริมอีกว่า
           เมื่อความมั่นคงของรัฐหมายถึงความมั่นคงของประชาชน ดังนั้น การอ้างเรื่องความมั่นคง
           ของรัฐก็ควรจะต้องเป็นไปเพื่อการสร้างความปลอดภัยให้แก่ประชาชนด้วย


           ความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิเสรีภาพของประชาชนกับความมั่นคง

           ของรัฐ : ดุลยภาพของการอ้างความมั่นคงมากระทบสิทธิเสรีภาพ
           ควรอยู่ที่จุดไหน ?


                 ก่อนพิจารณาว่าดุลยภาพของสิทธิเสรีภาพของประชาชนและความมั่นคงของรัฐอยู่ตรง
           จุดไหนนั้น จำเป็นจะต้องพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิเสรีภาพของประชาชน

           และการอ้างความมั่นคงของรัฐก่อน โดยในมิติของเป้าประสงค์นั้น อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ได้มองว่า
           ความมั่นคงของรัฐและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอาจไม่ใช่สิ่งที่ขัดแย้งกันเสมอไป
           โดยอาทิตย์เห็นว่าการสร้างความมั่นคงของรัฐก็เป็นไปเพื่อให้ประชาชนปลอดภัย และเมื่อเกิด
           ความปลอดภัยหรือมีความมั่นคงพอแล้ว ก็จะทำให้เกิดการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้
    สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 5   อาจจะมีมุมที่เกิดใช้อำนาจเพื่อรักษาความมั่นคงแล้วกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้
           แต่เมื่อมองถึงกระบวนการที่จะต้องใช้อำนาจเพื่อให้เกิดความมั่นคงแล้ว อาทิตย์เองก็มองว่า



           ด้วยเหตุนี้ ในมุมของอาทิตย์เองจึงมองว่าสิ่งที่จะช่วยสร้างสมดุลให้แก่การใช้อำนาจรัฐเพื่อสร้าง
           ความมั่นคงกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้น จะต้องอาศัยกลไกทั้งกลไกในตัว

           ฝ่ายการเมืองผู้ใช้อำนาจเอง และกลไกที่ใช้ในการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายการเมือง
   223   224   225   226   227   228   229   230   231   232   233