Page 225 - kpiebook65043
P. 225
225
สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 เรื่อง
ดุลยภาพระหว่างความมั่นคงของรัฐ
เอกสารประกอบการประชุม กับสิทธิเสรีภาพของประชาชน 1
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2564
ตั้งแต่โลกได้รู้จักกับระบอบประชาธิปไตยและมีการพัฒนาแนวคิด
ด้านประชาธิปไตยอย่างแพร่หลายในศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ก็ถือว่า
การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพเป็นหัวใจสำคัญของประชาธิปไตย และวางหลัก
มาตลอดว่ารัฐจะจำกัดหรือล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพบางประการได้
ก็ต่อเมื่อมีเหตุผลเรื่อง “ความมั่นคงของรัฐ” ที่อาจเกี่ยวข้องกับการรักษา
ความปลอดภัยหรือความสงบเรียบร้อยให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ตั้งแต่ช่วงก่อนศตวรรษที่ 20 จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีการให้น้ำหนักกับ
การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เป็นอย่างมาก
โดยคำพิพากษาของศาลในต่างประเทศจะมีการวางหลักมาตลอดว่า
รัฐจะจำกัดหรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ภายใต้เงื่อนไข
บางประการ นั่นคือ แม้ว่ารัฐจะอ้างว่าเพื่อความมั่นคงของรัฐ แต่การจำกัด
หรือละเมิดสิทธิดังกล่าวจะต้องใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
และกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้น้อยที่สุด
อย่างไรก็ตาม ในช่วงศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญ
ที่ทำให้มุมมองเกี่ยวกับความมั่นคงและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นกระแสโลกาภิวัตน์ หรือความเจริญก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยีก็ได้ส่งผลให้เกิดการตระหนักเรื่องการคุ้มครองสิทธิ
เสรีภาพมากยิ่งขึ้น และในขณะเดียวกัน เหตุการณ์ต่าง ๆ ก็ส่งผลให้รัฐ
จำเป็นจะต้องตระหนักถึงภัยความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นการก่อการร้าย
วิกฤตโรคระบาด หรือแม้แต่การเกิดอาชญากรรมในรูปแบบใหม่ และ
ปัจจัยเหล่านี้ได้ส่งผลให้หลายประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย
1 วิทยากร โดย ศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบัน
ศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ ISIS จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
นางสาวศยามล ไกรยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และนายอาทิตย์
สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต ผู้ดำเนินรายการ นายศุภณัฐ
เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล