Page 220 - kpiebook65043
P. 220

220   สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


           ที่กำหนดให้หน่วยงานที่ต้องทำงานร่วมกันต้องเสนองบประมาณบางโครงการร่วมกัน
           แต่การบูรณาการดังกล่าวก็เป็นเพียงการบูรณาการเชิงเอกสารเท่านั้น เพราะสุดท้ายเมื่อต้อง
           ปฏิบัติงานก็ยังคงแยกกันทำ นอกจากนี้ อีกส่วนหนึ่งที่จะต้องทำก็คือการให้กลไกที่มีอยู่ใน
           ภาคส่วนอื่นเกิดระบบการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบระเบียบอย่างต่อเนื่อง ตลอดจน

           ต้องสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่ให้ประสบความสำเร็จโดยผ่านการกระจายอำนาจให้ได้

                 ทั้งนี้ การสร้างกลไกในเชิงพื้นที่ให้ประสบความสำเร็จนั้น ควรจะต้องมีการดำเนินการ
           ดังนี้

                 1) รัฐส่วนกลางต้องปรับเปลี่ยนบทบาท อำนาจ และหน้าที่ของตนเอง โดยจะต้องมี

           การทบทวนว่ารัฐส่วนกลางจะไม่ทำอะไรบ้าง และต้องตั้งคำถามกับตัวเองจริง ๆ ว่าส่วนกลาง
           จะมีไว้ทำอะไร ส่วนภูมิภาคควรมีขอบเขตอำนาจเพียงใด และท้องถิ่นควรมีหน้าที่และอำนาจ
           ในการดำเนินการเรื่องใดบ้าง

                 2) การสร้างกลไกความร่วมมือเชิงพื้นที่ให้เกิดขึ้น โดยจะต้องสร้างความเป็นสถาบัน
           ของกลไกความร่วมมือ โดยการสร้างกลไกความร่วมมือเชิงพื้นที่นั้น จะต้องประกอบด้วย

                   - การสร้างการสานเสวนา โดยให้แต่ละหน่วยงานที่ต้องทำงานร่วมกันได้มี

           ปฏิสัมพันธ์กันบ่อย ๆ และการเสวนาที่สำคัญก็คือการเสวนาเชิงยุทธศาสตร์ ที่สำคัญ
           การเสวนาเช่นนี้จะเป็นไปด้วยดีถ้าหากอยู่บนฐานข้อมูล และจะต้องมีการสร้างข้อมูล
           เชิงพื้นที่ด้วย

                   - การสร้างหน่วยกลางในการนำเอากลไกต่าง ๆ มาพบปะสังสรรค์กัน

           หรือเกิดปฏิสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง เช่น อาจมีการจัดกิจกรรมร่วมกัน จัดประชุม ฯลฯ
           และถ้าหากมีการประชุมแล้วได้ข้อสรุปเกี่ยวกับโครงการ ก็จะต้องมีการผลักดันโครงการ
           โดยผู้ประกอบการเชิงนโยบายต้องเป็นคนผลักดัน

                 ทั้งนี้ วสันต์ได้ทิ้งท้ายถึงประเด็นเกี่ยวกับกฎระเบียบโดยมองว่าหลายประเทศ
           การตรากฎระเบียบจะมีลักษณะเป็นเพียงแนวปฏิบัติ (Guideline) แต่ไม่ใช่หลักกฎหมาย

           แต่ประเทศไทยก็บัญญัติเรื่องดังกล่าวไว้ในพระราชบัญญัติ ทำให้มีการแก้ไขยากและกลายเป็น
           อุปสรรค

                 สุดท้ายนี้ มานิตย์ จุมปา ได้กล่าวถึงแนวทางการปรับปรุงกฎหมายให้มีความยืดหยุ่น
           และเหมาะสมกับการใช้แก้ไขปัญหาภาวะวิกฤต โดยสะท้อนภาพการตรากฎหมายเพื่อจัดการ
    สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 4   มีการวิเคราะห์ในหลายประเด็น เช่น การหาจุดคุ้มทุน และจะต้องมีการตรากฎหมาย
           กับภาวะวิกฤตตามกรอบรัฐธรรมนูญ คือ

                 1) การตรากฎหมายตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจำเป็นจะต้องมีการรับฟังความเห็น


           เพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ตลอดจนจะต้องมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายเพื่อทำเป็น

           แนวทางในการตรากฎหมาย
   215   216   217   218   219   220   221   222   223   224   225