Page 219 - kpiebook65043
P. 219
219
สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23 219
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
อย่างชัดเจนว่า “ประชาธิปไตยไทยในภูมิทัศน์ใหม่ก็คือการสร้างระบบใหม่ให้ประเทศไทย
ที่ให้อำนาจแก่ประชาชนในระดับชุมชน แล้วต้องสร้างรัฐที่มีความเข้มแข็งและโครงข่ายที่ดี
และมีสำนึกรับผิดชอบ”
4) การสร้างระบบการสื่อสาร : แม้ว่าจะมีการโอนอำนาจกลับไปที่ส่วนกลาง หรือทำให้
เกิดการรวมศูนย์อำนาจในช่วงที่ต้องจัดการกับภาวะวิกฤตก็ตาม แต่ก็จะต้องสร้างระบบ
การสื่อสารที่ดี ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการถ่ายทอดคำสั่งจากส่วนกลางลงสู่พื้นที่ หรือการเก็บ
รวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาให้ส่วนกลางประเมินผลและวางแผนต่อการจัดการ
กับภาวะวิกฤต
5) การจัดการเรื่องงบประมาณ : โดยจะต้องมีการบริหารเงินให้ส่งลงไปยังพื้นที่ของ
ประชาชนได้ ซึ่งปัญหาปัจจุบัน คือ งบประมาณที่มีไม่สามารถลงไปถึงประชาชนที่ได้รับ
ผลกระทบอย่างแท้จริงได้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะการสร้างขั้นตอนที่ยุ่งยากที่ทำให้ประชาชนเข้าถึง
ตัวเงินนั้นลำบาก หรือการมีกฎระเบียบที่ติดขัดที่ทำให้ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันก็ตาม
6) การสร้างระบบให้ประชาชนมีส่วนร่วม : โดยจะต้องสร้างระบบที่ทำให้ประชาชน
สามารถส่งเสียงถึงรัฐบาลในกรณีที่เกิดการบริหารราชการที่ผิดพลาดหรือไม่สอดคล้อง
กับความต้องการของประชาชน หรือไม่เป็นไปตามที่ประชาชนคาดหวังได้ หรือแม้แต่กรณี
ที่ประชาชนสงสัยต่อความโปร่งใสในการบริหารจัดการ ก็ต้องเปิดช่องทางให้ประชาชนสามารถ
ส่งเสียงร้องเรียนได้ และ
7) การเตรียมพร้อมรับมือกับภาวะวิกฤต : ต้องระลึกเสมอว่า วิกฤตโรคระบาดโควิด - 19
จะไม่ใช่วิกฤตสุดท้าย และคงจะต้องมีวิกฤตอย่างอื่นอีก ดังนั้น รัฐจะต้องเตรียมความพร้อม
เพื่อรับมือกับภาวะวิกฤตอยู่เสมอ โดยจะต้องมีการถอดบทเรียนและคิดถึงการจัดการล่วงหน้า
โดยกอบศักดิ์ได้เน้นย้ำว่า “...คิดเหมือนกับสู้ศึกต้องมีกองทัพ กองทัพมีคนต้องมีแขนขาแล้ว
ก็ต้องสร้างโครงข่ายไปถึงชุมชนกับเอกชนไว้ ต้องมีระบบ มีอุปกรณ์ ต้องมีวินัย
ต้องมีการซ้อมรบ...” และจะต้องทำทุกวันเหมือนกับประเทศไทยกำลังมีวิกฤต อย่าคิดว่า
เดี๋ยววิกฤตก็ผ่านพ้นไป
ส่วน วสันต์ เหลืองประภัสร์ ก็ได้นำเสนอทางออกในเชิงการจัดระบบการบริหารจัดการ
ภาครัฐ โดยเน้นย้ำว่าที่ผ่านมา รัฐไทยเองก็พยายามปรับตัวเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการบริหาร
จัดการมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการทำงานอย่างบูรณาการ เช่น การกำหนด
นโยบายบางอย่างที่จำเป็นจะต้องขับเคลื่อนโดยหลายหน่วยงาน ก็จะมีการแก้ปัญหาด้วยการ
ตั้งคณะกรรมการซึ่งมีองค์ประกอบเป็นกรรมการมาจากหลายหน่วยงานที่ต้องทำงานร่วมกัน
แต่รูปแบบดังกล่าวนี้ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากการใช้รูปแบบคณะกรรมการก็เป็นเพียง
การนำผู้ที่เกี่ยวข้องมานั่งประชุมร่วมกันแต่ไม่มีหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพหลัก และแม้ปัจจุบัน สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
จะมีความพยายามในการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณโดยมีงบบูรณาการ