Page 214 - kpiebook65043
P. 214
214 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
3) ต้องมีการบูรณาการข้อมูล หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มา
วางแผนในการบริหารจัดการ แต่ในกรณีของประเทศไทย จะเห็นว่าข้อมูลถูกเก็บอยู่ในคนละ
ช่องทาง (Platform) และขาดการบูรณาการ ซึ่งเอกชัยเห็นว่าจำเป็นจะต้องมีวิธีปฏิบัติ
(Protocol) กลางในการจัดการข้อมูล
ปัญหาของการบริหารจัดการภาครัฐในประเทศไทย
กับโจทย์ใหม่ที่รัฐต้องคิดต่อ
จากความท้าทายที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น วสันต์ เหลืองประภัสร์ และ อ้อนฟ้า
เวชชาชีวะ ได้สะท้อนให้เห็นปัญหาของการบริหารจัดการภาครัฐในประเทศไทย
อีกทั้งได้กล่าวถึงโจทย์ใหม่ที่รัฐบาลอาจจะต้องหาคำตอบสำหรับการสร้างหรือปรับปรุงระบบ
การบริหารจัดการภาครัฐ โดยวสันต์ได้สะท้อนปัญหาและข้อจำกัดในการบริหารจัดการภาครัฐ
ทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ดังนี้
1) ในส่วนของราชการส่วนกลาง วสันต์เห็นเช่นเดียวกับอ้อนฟ้าว่าหน่วยงานแต่ละแห่ง
มีการทำงานในลักษณะที่ต่างคนต่างทำ แต่ละกรมมีอำนาจตามที่กฎหมายกำหนดแล้วแยกงาน
กันทำ ทำให้ขาดการทำงานแบบบูรณาการ ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นมากในปัจจุบัน และ
แม้การกำหนดงบประมาณจะมีการกำหนดงบบูรณาการก็ตาม แต่การทำงบและการบริหารงาน
ก็ยังคงมีลักษณะต่างคนต่างทำเหมือนเดิม
2) ในส่วนของราชการส่วนภูมิภาค วสันต์มองว่า จริง ๆ แล้วราชการส่วนภูมิภาค
ของไทยถูกตั้งขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และมีลักษณะเป็นตัวเชื่อมระหว่างรัฐบาลส่วนกลาง
กับพื้นที่ในลักษณะที่เป็นตัวแทนของรัฐส่วนกลาง ซึ่งประเด็นนี้ถือว่าเป็นต้นทุนที่สำคัญของ
การบริหารจัดการภาครัฐของไทย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ราชการส่วนภูมิภาคมีความน่าเชื่อถือ
และส่วนงานต่าง ๆ ให้ความเกรงใจมากกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เพิ่งตั้งมาไม่นาน
เมื่อเทียบกับราชการส่วนภูมิภาค แต่ประเทศไทยเองกลับไม่ค่อยใช้ประโยชน์ด้านนี้
ของราชการส่วนภูมิภาค ทั้งที่ความจริงแล้วทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมที่ดีได้
3) ในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วสันต์มองว่าแม้จะมีการกระจายอำนาจ
แต่ด้วยกฎหมาย และกฎระเบียบที่ตราขึ้น ก็ยังส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีระบบ
ราชการสูงไม่แพ้กับส่วนกลาง และไม่สามารถคิดนอกกรอบเพื่อสร้างบริการสาธารณะ
สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 4 ปัญหา (Problem Solver) เป็นคนที่ทำหน้าที่เกื้อหนุนหรือสนับสนุนให้สังคมเกิดทางเลือก
ที่สอดคล้องกับความต้องการของคนในพื้นที่ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากติดปัญหาเรื่องกฎระเบียบ
นอกจากนี้ วสันต์ยังมองว่าในปัจจุบัน รัฐควรตั้งคำถามสำคัญคือ
1) รัฐควรทำอะไร และไม่ทำอะไรแล้ว โดยรัฐจะต้องปรับบทบาทจากที่เป็นคนไล่ตาม
ในการแก้ปัญหาใหม่ตลอดเวลา (Solution enabler) หรือก็คือรัฐจะต้องทำหน้าที่เป็น