Page 217 - kpiebook65043
P. 217

217
                                                                                   สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  21
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่

             เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการใช้อำนาจตามอำเภอใจ ด้วยเหตุนี้ การใช้อำนาจรัฐจึงอาจต้องถูกกำกับ
             และตรวจสอบจากฝ่ายตุลาการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการใช้อำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

                   จากที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า ที่กล่าวกันว่ากฎหมายเป็นอุปสรรคกับ

             การบริหารจัดการภาครัฐ หรือทำให้การบริหารจัดการภาครัฐไม่ยืดหยุ่นนั้น มานิตย์เห็นว่า
             จริง ๆ แล้ว มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการในช่วงภาวะวิกฤตมากมาย ซึ่งขึ้นอยู่
             กับว่าผู้มีอำนาจจะเลือกหยิบบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมาบังคับใช้ และถ้าหากหยิบมาบังคับใช้
             แล้วเห็นว่ายังคงเป็นอุปสรรคอยู่ ภาครัฐเองก็สามารถแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายได้เช่นเดียวกัน


             ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการภาครัฐที่สอดคล้องกับ

             ภูมิทัศน์ทางการเมืองใหม่ของประเทศไทย


                   เมื่อได้กล่าวถึงสภาพปัญหาและความท้าทายไปแล้ว ประเด็นต่อไปที่จะต้องพิจารณา
             จากการมองการบริหารจัดการภาครัฐในภาวะวิกฤตก็คือการหาทางออกที่จะทำให้เกิด
             การปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการภาครัฐให้สอดคล้องกับยุคสมัย โดย อ้อนฟ้า เวชชาชีวะ

             ได้เริ่มนำเสนอจากการกล่าวย้ำว่า ถ้าหากต้องการหาทางออกจากการบริหารจัดการภาครัฐ
             ที่เป็นปัญหา ก็จะต้องเริ่มจากการตั้งเป้าหมายก่อนว่าต้องการให้เป้าหมายเป็นอย่างไร และ
             มองกลไกภาครัฐว่าเป็นอย่างไร และอย่างที่ได้มีการกล่าวถึงมาตลอดตั้งแต่ต้นว่าระบบแนวคิด
             ของราชการมีลักษณะเป็นระบบปิด ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมองค์กร หรือกฎระเบียบก็ตาม
             ดังนั้น ก็จะต้องหาทางออกจากวงจรเดิมโดยการบริหารจัดการภาครัฐจะต้องปรับตัว

             ไปในแนวทางดังนี้

                   1)  ต้องสร้างระบบ “รัฐบาลแบบเปิด” (Open Government) อย่างที่ได้มีการกล่าวถึง
             ไปแล้วในตอนต้น เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงรัฐบาลได้ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงเพื่อแสดง
             ความเห็นหรือเป็นการเข้าถึงในลักษณะตรวจสอบ ซึ่งจะทำให้ภาครัฐมีการทำงาน

             ที่มีธรรมาภิบาลมากยิ่งขึ้น

                   2)  ต้องสร้างระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่เป็นดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
             มาตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการรับฟังความเห็นประชาชน

             การประมวลผลข้อมูล หรือการให้บริการประชาชน ที่สำคัญรัฐจะต้องเร่งทำให้ทุกคนสามารถ
             เข้าถึงอุปกรณ์ดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียมกันด้วย นอกจากนี้ อ้อนฟ้ายังแสดงให้เห็นว่าการทำเรื่อง
             รัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) นั้น จะต้องทำในสองมิติ คือ

                     - การทำให้เป็นดิจิทัล (Digitalization) ซึ่งก็คือการปรับกระบวนงานให้เป็นระบบ

             ดิจิทัล โดยจะต้องทบทวนระบบการทำงาน และต้องทบทวนกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องว่าส่วนใด
             ที่ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล และจะต้องดำเนินการแก้ไขหรือ         สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
             ปรับปรุงกฎระเบียบนั้น
   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222