Page 213 - kpiebook65043
P. 213

213
                                                                                   สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  213
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่

             แล้วค่อยแก้ไข และเมื่อวิกฤตผ่านพ้นไปก็ขาดการถอดบทเรียนสำหรับเตรียมการรับมือถ้าหาก
             เกิดวิกฤตครั้งต่อไป

                     นอกจากนี้่ อีกสิ่งหนึ่งที่ถูกสะท้อนมาตลอดตั้งแต่ตอนต้นว่ามีความสำคัญกับ

             การบริหารจัดการภาวะวิกฤต คือ “ข้อมูล” โดยในประเด็นเกี่ยวกับข้อมูลนี้ เอกชัย สุมาลี
             ได้ชี้ให้เห็นถึงลักษณะสำคัญของข้อมูลที่ต้องใช้ในภาวะวิกฤต ซึ่งอาจมีลักษณะหรือคุณสมบัติ
             เฉพาะ นั่นคือ

                     1) เป็นข้อมูลที่ต้องผูกอยู่กับเงื่อนเวลา นั่นคือ การได้ข้อมูลอย่างรวดเร็ว

             มีความสำคัญมาก ดังนั้น ระบบการจัดการข้อมูลในภาวะวิกฤตจะต้องมีความรวดเร็ว
             เพราะถ้าหากต้องรอการเก็บข้อมูล การประมวลผล หรือการวิเคราะห์ที่ต้องใช้เวลาร่วมเดือน
             เหมือนปกติก็อาจไม่ทัน และนอกจากข้อมูลจะผูกอยู่กับเงื่อนเวลาแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ
             ที่จะต้องพิจารณาในเรื่องของเวลา ก็คือ ในแต่ละช่วงเวลาของการเกิดวิกฤต การบริหารจัดการ

             ข้อมูลย่อมมีความต่างกัน โดย
                             -  ก่อนเกิดวิกฤต จะต้องมีการเตรียมการก่อนที่วิกฤตจะเกิดขึ้น การจัดการ
                              ข้อมูลในช่วงดังกล่าวจะต้องเป็นการเตรียมเพิ่มขีดความสามารถ
                              ในการประมวลผลข้อมูล และอาจจะต้องมีข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นไว้ให้

                              มากที่สุด โดยเอกชัยได้ยกตัวอย่างกรณีของประเทศญี่ปุ่นที่มีการเกิด
                              แผ่นดินไหวบ่อยครั้ง และจากวิกฤตที่เกิดขึ้นและมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้น
                              อย่างต่อเนื่องนี้เอง ก็ทำให้มีการเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ว่าหมู่บ้านไหน
                              มีประชากรกี่คน เป็นคนแก่และเด็กกี่คน และมีกี่คนที่ต้องได้รับ

                              ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เป็นต้น
                             -  ระหว่างที่อยู่ในวิกฤต ก็ยิ่งต้องมีการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี ถ้าหาก
                              ไม่เตรียมการประมวลผลข้อมูลหรือพยายามหาข้อมูลมาเก็บไว้ให้ได้
                              มากที่สุดในช่วงก่อนเกิดวิกฤตแล้ว ข้อมูลก็จะมากองรวมกันอยู่ในช่วงที่เกิด

                              วิกฤตนี้ ก็จะยิ่งทำให้ยากต่อการบริหารจัดการ
                             -  หลังเกิดวิกฤต ก็ต้องมีการเตรียมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการฟื้นฟูประเทศ
                              หลังวิกฤต โดยเอกชัยได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาของประเทศญี่ปุ่น
                              ที่ว่ามีการใช้ข้อมูลประมวลผลว่าควรให้ความช่วยเหลือต่อบริษัทไหน

                              หรือต่ออุตสาหกรรมอะไรก่อน เป็นจำนวนเงินเท่าใด เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจ
                              ของประเทศฟื้นฟูได้อย่างเร็วที่สุด

                     2) เป็นข้อมูลที่ต้องการความแม่นยำเชิงพื้นที่สูงมาก เนื่องจากการจัดการวิกฤต
             โรคระบาดที่ผ่านมามีลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ หรือก็คือ บางพื้นที่อาจเกิดความแออัด

             ที่ไม่เหมือนกันหรือมีความต้องการบางอย่างไม่เหมือนกัน                                      สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218