Page 211 - kpiebook65043
P. 211
211
สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23 211
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
1) ระบบราชการเป็นระบบที่ค่อนข้างปิด และส่วนหนึ่งที่ทำให้ระบบราชการ
มีความเป็นระบบปิด ก็เนื่องจากมีกฎหมายและกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติที่ครอบเอาไว้
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การปฏิบัติงานไม่สามารถทำนอกกฎระเบียบที่วางไว้ได้
2) ระบบการทำงานของราชการมีลักษณะเป็นแบบแบ่งส่วนกันทำและทำในลักษณะ
“ของใครของมัน” (Silo) ขาดการบูรณาการหรือคิดร่วมกัน ทั้งที่ในการดำเนินการหลายอย่าง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริหารจัดการในภาวะวิกฤต ต้องอาศัยความจำเป็นในการบูรณาการ
ร่วมกันเพื่อให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ อ้อนฟ้าได้เน้นย้ำว่าปัญหาทั้งสองประการข้างต้นของฝ่ายปฏิบัติการ เกิดขึ้น
เนื่องจาก ฝ่ายปฏิบัติการจำเป็นจะต้องทำงานบนกรอบของกฎหมาย ถ้าหากไม่ทำตามแล้ว
อาจมีความผิด จนการทำงานกลายเป็น “ทำตามกฎหมาย” และไม่นึกถึง “เป้าหมาย” ที่แท้จริง
ที่สำคัญ กฎหมายที่กำหนดความผิดในปัจจุบันมีมากมาย เนื่องจากกลัวว่าจะเกิดการทุจริต
ทำให้ฝ่ายปฏิบัติการเองไม่กล้าคิดอะไรใหม่ ๆ เพราะกลัวถูกตรวจสอบ หรือแม้กระทั่งกลายเป็น
ผู้กระทำความผิดไปถ้าหากเกิดทำอะไรนอกกรอบกฎหมาย
๏ ความท้าทายของการบริหารจัดการภาครัฐต่อระบบการทำงานของรัฐบาล
ในภาวะวิกฤต
ทั้งวสันต์ และอ้อนฟ้า ได้ชี้ให้เห็นถึงความท้าทายต่อการบริหารจัดการภาครัฐ
ที่ค่อนข้างครอบคลุมไปถึงการบริหารจัดการในกรณีปกติด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่เกิด
ภาวะวิกฤตนั้น อาจทำให้เกิดความต้องการในการบริหารจัดการที่แตกต่างจากการบริหาร
จัดการในภาวะปกติ เนืื่องจากภาวะวิกฤตนั้นเป็นสถานการณ์ที่ต้องการความเร่งด่วน
ในการบริหารจัดการดังที่ได้กล่าวไว้แล้วตอนต้น ทั้งนี้ วิกฤตโรคระบาดที่เกิดขึ้นและกินเวลา
ยาวนานมากกว่า 2 ปีที่ผ่านมา ได้สะท้อนให้เห็นความบกพร่องของการบริหารจัดการภาครัฐ
ในภาวะวิกฤต และในเมื่อวิกฤตโรคระบาดอาจไม่ใช่วิกฤตสุดท้ายที่ประเทศไทยจะต้องเผชิญ
ดังนั้น การถอดบทเรียนเกี่ยวกับความท้าทายต่อการบริหารจัดการภาครัฐในภาวะวิกฤตจึงมี
ความสำคัญไม่แพ้กัน โดย กอบศักดิ์ ภูตระกูล ได้ชี้ิให้เห็นว่าจากวิกฤตโรคระบาดที่ผ่านมา
2 ปีนั้น ทำให้เห็นถึงปัญหาในการบริหารจัดการภาครัฐในวิกฤตโรคระบาด ดังนี้
1) ปัญหาเกี่ยวกับวิธีคิด (mindset) ของภาครัฐ นั่นคือ แม้ว่าจะมีการพูดถึงกันมา
ตลอดว่าภาวะวิกฤตนั้นมีความแตกต่างจากภาวะปกติ และต้องการการบริหารจัดการที่มี
ความแตกต่างจากการบริหารจัดการในภาวะปกติก็ตาม แต่ในมุมมองของกอบศักดิ์แล้ว
เห็นว่าที่ผ่านมารัฐบาลไทยจัดการกับภาวะวิกฤตเหมือนกำลังเผชิญกับสถานการณ์ปกติ
ทำให้การจัดการหลาย ๆ เรื่องมีความล่าช้ากว่าเอกชน สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
2) ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของการเมือง โดยกอบศักดิ์เห็นว่าการจัดการหลายเรื่องมี
ความเป็นการเมืองมากเกินไป และมีลักษณะที่มีวาระซ่อนเร้น (hidden agenda) เช่น