Page 208 - kpiebook65043
P. 208
20 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
ภาวะวิกฤตกับการบริหารจัดการภาครัฐ
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นส่งผลให้เกิดการตั้งคำถาม
ต่อการบริหารงานภาครัฐว่าการบริหารงานภาครัฐที่เป็นอยู่นั้น เป็นระบบที่สามารถตอบสนอง
ความต้องการของประชาชนในปัจจุบันได้อย่างแท้จริงหรือไม่ หรือจำเป็นจะต้องปรับตัว
หรือมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเพื่อให้ระบบการบริหารงานภาครัฐมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดย กอบศักดิ์ ภูตระกูล ได้ชี้ให้เห็นว่า แม้ว่าเมื่อกล่าวถึง “วิกฤต” ในปัจจุบันนี้ ก็มักจะนึกถึง
เฉพาะวิกฤตโรคระบาด แต่จริง ๆ แล้วยังมีวิกฤตอยู่อีกมากมายที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ แม้ว่าจะ
ไม่ได้มีลักษณะด่วน หรือฉุกเฉินแบบวิกฤตโรคระบาดโควิด - 19 ก็ตาม โดยมีทั้งวิกฤต
ที่รุนแรงจับต้องได้อย่างโรคระบาด หรือวิกฤตน้ำท่วมที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยใน พ.ศ. 2554
และยังมีวิกฤตที่มีลักษณะเป็นวิกฤตแอบแฝง อย่างเช่นวิกฤตฝุ่น PM 2.5 ซึ่งดูเหมือนกับว่า
เราจะอยู่กับวิกฤตฝุ่นนี้ได้ แต่จริง ๆ แล้ว ก็เกิดปัญหามากมาย หรืออย่างวิกฤตเรื่อง
สังคมสูงอายุ (aging society) ที่ทำให้เห็นว่าสังคมไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและอาจเกิด
วิกฤตเกี่ยวกับการขาดแคลนแรงงานในอนาคต โดยวิกฤตเหล่านี้อาจจะไม่ได้มีลักษณะฉุกเฉิน
ที่ต้องการเร่งจัดการ แต่ก็จะสะสมและก่อตัวได้ในอนาคตเหมือนเป็นโรคมะเร็ง
นอกจากนี้ิ ทั้ง อ้อนฟ้า เวชชาชีวะ และ วสันต์ เหลือประภัสร์ ยังได้ชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่
วิกฤตโรคระบาดโควิด - 19 ได้สะท้อนให้เห็นข้อบกพร่องบางประการของการบริหารจัดการ
ภาครัฐ โดยอ้อนฟ้าได้อธิบายถึงคำว่า “วิกฤต” ซึ่งถือเป็นหนึ่งในประเด็นหลักของการประชุม
กลุ่มย่อยนี้ว่า วิกฤตคือสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างรุนแรงเฉียบพลัน และที่สำคัญคือ
เมื่อเกิดวิกฤตแล้ว วิกฤตนั้นจะทำให้ชีวิตของประชาชนไม่เหมือนเดิม แต่สุดท้ายก็อาจทำให้เรา
เห็นปัญหาในการบริหารจัดการหลาย ๆ อย่างที่เคยเป็นมา โดยทั้งอ้อนฟ้าและวสันต์ได้กล่าวถึง
กรณีของวิกฤตโรคระบาดโควิด - 19 ที่เกิดขึ้น นั่นคือ อย่างน้อยที่สุด ทุกคนได้เห็นว่าโลกนั้น
เปลี่ยนไปแล้วและการบริหารจัดการภาครัฐก็มีช่องโหว่เกิดขึ้นเนื่องจากยังไม่ได้เปลี่ยนตาม
โลกที่เปลี่ยนไป คือ
1) ภาครัฐยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ทั้งที่ด้วย
บริบทของโลกยุคปัจจุบันแล้ว ความต้องการของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก
และเรียกร้องให้รัฐต้องตอบสนองด้วยความรวดเร็ว และเมื่อภาครัฐไม่สามารถตอบโจทย์
ภาคประชาชนได้ทัน ก็จะนำไปสู่การขาดความเชื่อมั่นต่อภาครัฐ
สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 4 ที่เกิดขึ้นคือเป็นวิกฤตของประเทศหรือของสังคม และมีผลกระทบเป็นวงกว้าง ดังนั้น
2) ภาครัฐไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิมอีกต่อไป เนื่องจากธรรมชาติของวิกฤต
ภาครัฐก็ไม่สามารถบริหารจัดการได้โดยลำพังอีกต่อไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ
วิกฤตโรคระบาดที่เกิดขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้เห็นความจำเป็นที่ต้องทำงานร่วมกับ
ภาคส่วนอื่น ๆ รวมถึงการทำงานแบบบูรณาการด้วย