Page 209 - kpiebook65043
P. 209

209
                                                                                   สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  209
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่

                   3) ในช่วงที่เกิดภาวะวิกฤต ภาครัฐจำเป็นจะต้องตอบสนองต่อประชาชนได้อย่างทันเวลา
             และการตัดสินใจที่ดีก็ต้องมาจากข้อมูล กล่าวคือ การประมวลผลข้อมูลที่ดีจะทำให้มีข้อมูลที่ดี
             เพียงพอที่จะใช้ตัดสินใจได้ และทำให้วางแผนได้เช่นกัน ดังนั้น ส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการ
             ภาครัฐจึงมาจากการพยายามสร้างสมดุลในการจัดการข้อมูลกับโจทย์ที่เร่งด่วน และถ้าหาก

             ไม่สามารถใช้ข้อมูลแก้ปัญหาได้ ก็จะกลายเป็นวิกฤตขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง คือ วิกฤตเรื่องข้อมูล


             ความท้าทายใหม่ต่อการบริหารจัดการภาครัฐ :
             ภาพสะท้อนจากวิกฤตที่เกิดขึ้น


                   ในเมื่อมีการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าวิกฤตโรคระบาดที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกนั้น
             ได้ทำให้เกิดจุดเริ่มต้นในการหันกลับมาพิจารณาและทบทวนการบริหารจัดการภาครัฐเนื่องจาก

             การจัดการกับวิกฤตนั้นทำให้เป็นที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการบริหารจัดการภาครัฐตามระบบ
             ที่เป็นอยู่นั้นมีปัญหาและไม่สามารถตอบสนองต่อวิกฤตหรือความต้องการของประชาชนได้อย่าง
             ทันเวลา ประเด็นต่อมาที่จะต้องพิจารณาก็คือ จากภาพสะท้อนของวิกฤตที่เกิดขึ้นนั้น
             ไม่ว่าจะเป็นภาพสะท้อนจากวิกฤตโรคระบาดที่มีความฉับพลันหรือภาพสะท้อนจากวิกฤต

             ที่เกิดขึ้นในลักษณะสะสมอย่างวิกฤตอากาศหรือสิ่งแวดล้อมก็ตาม ได้ทำให้เห็นภาพ
             ความท้าทายต่อการบริหารจัดการภาครัฐอย่างไร

                    ๏ จากความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนไป สู่ความท้าทายใหม่ต่อระบบการบริหาร
             จัดการ


                     วสันต์ เหลืองประภัสร์ ได้สะท้อนให้เห็นว่าการเกิดขึ้นของวิกฤตโรคระบาด
             ได้ชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ชัดเจนมาก และการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ทำให้เกิด
             ความท้าทายต่อการบริหารจัดการภาครัฐ และทำให้เกิดคำถามถึงความเหมาะสม ตลอดจน
             การเรียกร้องให้ภาครัฐจะต้องปรับเรื่องการบริหารจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการ

             สิ่งที่เป็นการบริการสาธารณะ ดังนี้

                     1) โลกที่กำลังเป็น “สังคมไร้ศูนย์กลาง” (Centerless Society) ดังจะเห็นได้จาก
             ความเป็นศิลปิน ซึ่งแต่ก่อนนั้นใครต้องการเป็นศิลปินจะต้องมีค่ายเพลง แต่ปัจจุบันด้วยความ

             เจริญก้าวหน้าของสื่อโซเชียล (Social media) ทำให้ทุกคนสามารถเป็นศิลปินเองได้หมด
             ไม่ต้องมีค่ายเพลงอย่างแต่ก่อน นี่คือสิ่งที่เรียกว่า “ไร้ศูนย์กลาง” ดังนั้น ถ้าหากพิจารณา
             ในมุมของการบริการสาธารณะก็จะเห็นว่าได้เกิดตัวแสดงใหม่ ๆ มากมายในการจัดทำบริการ
             สาธารณะให้แก่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษาหรือสถานพยาบาล ดังนั้น

             สิ่งนี้จึงเป็นการท้าทายการบริหารจัดการภาครัฐในสมัยก่อนซึ่งถือว่า รัฐเป็นศูนย์กลาง
             ในการจัดทำบริการสาธารณะ แต่ปัจจุบันอาจไม่ใช่อีกต่อไป โดยรัฐอาจจะต้องเปลี่ยนบทบาท          สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 4
             จากศูนย์กลาง เป็นผู้ที่ทำให้แต่ละฝ่ายสามารถประสานการทำงานร่วมกันได้
   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214