Page 212 - kpiebook65043
P. 212
212 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
เรื่องการบริหารจัดการวัคซีนมาผูกโยงกับการหาเสียงและหลายกรณีเป็นการหาเสียง
ในพื้นที่บางพื้นที่ด้วยทำให้การให้ความช่วยเหลือขาดความเสมอภาค และยังเป็นการบริหาร
จัดการที่ขาดประสิทธิภาพในภาพรวม ที่สำคัญการนำเรื่องการให้ความช่วยเหลือเพื่อจัดการ
ในภาวะวิกฤตก็ยังส่งผลกระทบต่อความไว้วางใจของประชาชนด้วย
3) กฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบที่ก่ออุปสรรคต่อการบริหารจัดการ
โดยในประเด็นนี้ กอบศักดิ์ได้เห็นไปในทางเดียวกับอ้อนฟ้าว่ากฎหมาย กฎเกณฑ์ รวมถึง
ระเบียบต่าง ๆ ที่ใช้บังคับอยู่ในประเทศไทยมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนที่ไม่จำเป็นในการ
บริหารจัดการ ทำให้การบริหารจัดการในหลาย ๆ ขณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่เกิดภาวะ
วิกฤตซึ่งต้องการการจัดการอย่างเร่งด่วนนั้นเกิดความไม่คล่องตัว เพราะเมื่อมีกฎระเบียบ
กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติมาก ผู้ปฏิบัติการก็จะยิ่งกลัวว่าถ้าหากทำผิดขั้นตอน ก็จะกลายเป็น
การกระทำความผิดและถูกลงโทษ
4) ปัญหาเกี่ยวกับระบบการสั่งการ ซึ่งกอบศักดิ์มองว่าที่ผ่านมา การสั่งการ
มีลักษณะรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป และแม้ว่ารัฐบาลจะมองว่าการรวมศูนย์อำนาจ
ในการสั่งการจะทำให้เกิดความรวดเร็วในการจัดการภาวะวิกฤตก็ตาม แต่การกระจายคำสั่งไป
สู่การแก้ไขในชุมชนนั้น กลับทำได้ไม่ดี โดยเกิดปัญหา คือ
4.1) คำสั่งจากส่วนกลางไม่สามารถถ่ายทอดไปยังพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว
4.2) การทำงานในช่วงวิกฤตดังกล่าวขาดการบูรณาการ ทั้งที่ความจริงการติดต่อ
ของโรคระบาดไปยังพื้นที่ต่าง ๆ นั้น มีลักษณะเหมือนกัน แต่กลับเกิดภาพ
ที่ว่าต่างคนต่างจัดการซึ่งทำให้การตอบสนองต่อภาวะวิกฤตนั้นไม่มี
ประสิทธิภาพเท่าที่ควร
4.3) ขาดเรื่องการเชื่อมโยงข้อมูลที่จำเป็นจะต้องใช้ในการบริหารจัดการวิกฤต
โรคระบาด ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลที่อยู่ในแต่ละพื้นที่เพื่อนำมาใช้
ตัดสินใจ หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการรักษา หรือ
รอความช่วยเหลือในแต่ละพื้นที่ ซึ่งถ้าหากมีการเชื่อมโยงข้อมูลที่ดีกว่านี้
ก็อาจทำให้การกระจายความช่วยเหลือ หรือการหามาตรการต่าง ๆ
เพื่อบริหารจัดการ มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ก็ได้
5) ปัญหาเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล ซึ่งมีทั้งส่วนที่มีกฎระเบียบที่เป็น
อุปสรรคต่อการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลในการแก้ปัญหาวิกฤต และส่วนที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายเงิน
สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 4 ใช้จ่ายเงินเพื่อจัดการกับภาวะวิกฤต
ของรัฐบาลที่ทำให้เกิดการตั้งคำถามในกลุ่มประชาชนถึงประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการ
ทั้งนี้ กอบศักดิ์ยังได้เน้นย้ำถึงการจัดการในภาวะวิกฤตว่า ปัญหาการบริหารจัดการ
วิกฤตโรคระบาดที่เกิดขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะขาดการเตรียมการ หรือที่เรียกว่า “ขาดการ
ซ้อมรบ” เพราะการบริหารจัดการภาวะวิกฤตของประเทศไทยมีลักษณะที่ว่า รอให้เกิดปัญหา