Page 210 - kpiebook65043
P. 210
210 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
2) โลกที่ “เชื่อมต่อถึงกัน” (Hyper Connected World) ซึ่งเป็นจุดที่ยิ่งกว่า
ที่เราพูดกันว่าเป็น “โลกาภิวัตน์” (Globalization) นั่นคือ มีการเชื่อมโยงการสื่อสารกันได้
ตลอดเวลาและทุกคนก็ใช้เวลาอยู่กับสื่อโซเชียลแทนการต้องออกไปมีปฏิสัมพันธ์กันโดยตรง
เช่น แต่ก่อนถ้าหากอยากจะซื้อของต้องไปตลาด แต่ตอนนี้ทุกคนสามารถซื้อของได้จากทุกที่
หรือแม้กระทั่งสามารถขายของได้จากทุกที่ด้วย ส่งผลให้ทุกคนมีปฏิสัมพันธ์กันได้แม้จะอยู่
คนละที่กัน และการปฏิสัมพันธ์กันได้ผ่านสื่อโซเชียลหรือสื่อออนไลน์ต่าง ๆ นี้เอง ก็ทำให้
แต่ละคนมีความเป็นปัจเจก (Individualization) มากยิ่งขึ้น และเมื่อแต่ละคนมีความเป็นปัจเจก
มากขึ้นแล้ว ก็ทำให้เกิดความต้องการในบริการสาธารณะที่มีลักษณะสอดรับกับความต้องการ
ของตนเองมากยิ่งขึ้น ประเด็นเหล่านี้ทำให้ภาครัฐจะต้องเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการสาธารณะ
ซึ่งแต่เดิมอาจจะให้บริการสาธารณะในลักษณะ “เสื้อโหล” จะต้องเปลี่ยนไปเป็นแบบเฉพาะ
กลุ่มมากยิ่งขึ้น
3) โลกกำลังเข้าสู่ความเป็นโลกดิจิทัล (Digitalization) ซึ่งทำให้ต้องเปลี่ยนช่องทาง
(Platform) ในการทำงานของภาครัฐใหม่ โดยใช้ช่องทางดิจิทัล เช่น การสร้างระบบ
“รัฐบาลแบบเปิด” (Open Government) ซึ่งหมายถึงรัฐบาลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และ
เข้าไปตรวจสอบได้ และจะต้องสร้างระบบการทำงานร่วมกัน (Cooperation) โดยภาครัฐ
จะต้องหาความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน และหลายภาคส่วนมากยิ่งขึ้นโดยอาศัยช่องทาง
ดังกล่าว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ภาครัฐจะต้องใช้ช่องทางดิจิทัลให้เป็นประโยชน์ในการหา
ภาคส่วนที่มีความสามารถเพียงพอมาร่วมงานด้วย
นอกจากนี้ วสันต์เองยังได้สะท้อนปัญหาของการบริหารจัดการภาครัฐว่า
การบริหารจัดการวิกฤตในประเทศไทยนั้น มีลักษณะเป็นการวิ่งตามปัญหา และที่ผ่านมาได้มี
การพยายามประสานงานรวมทุกภาคส่วนมาช่วยกันแก้ปัญหา แต่ก็เป็นเพียงการรวมความคิด
(Idea) เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ วสันต์เห็นว่า
การพยายามรวมความคิดเพื่อสร้างยุทธศาสตร์ อาจไม่ใช่สิ่งที่เพียงพออีกต่อไป
เพราะการร่วมมือกันควรเปลี่ยนเป็นการสร้างโครงการ หรือการนำโครงการมาพิจารณา
ว่าจะนำไปใช้อย่างไร มากกว่าการอยากได้แต่เพียงความคิดหรือความเห็นในการบริหารจัดการ
แต่เพียงอย่างเดียว
๏ ความท้าทายของการบริหารจัดการภาครัฐในมุมของฝ่ายปฏิบัติการ
นอกจากความท้าทายต่อระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่อาจทำให้ภาครัฐจะต้อง
สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 4 ทบทวนกรอบแนวคิดในการทำงานใหม่ซึ่งอาจนำไปสู่การปรับเปลี่ยนระบบการทำงานใหม่แล้ว
ในส่วนของฝ่ายปฏิบัติการเอง ก็อาจจะต้องมีการทบทวนแนวทางการทำงานด้วย โดย อ้อนฟ้า
เวชชาชีวะ ได้สะท้อนให้เห็นว่า เมื่อกล่าวถึงคำว่า “ภาครัฐ” แล้ว ก็จะประกอบด้วยสองส่วน
คือ ฝ่ายกำหนดนโยบาย กับฝ่ายปฏิบัติการ และเมื่อมุ่งเน้นมาพิจารณาฝ่ายปฏิบัติการแล้ว
ก็จะเห็นปัญหาหรือช่องโหว่ในการปฏิบัติงานของฝ่ายปฏิบัติการที่สำคัญ ได้แก่