Page 215 - kpiebook65043
P. 215

215
                                                                                   สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  215
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่

             “คุณอำนวย” (Facilitator) ให้เกิดทางแก้ปัญหาได้ เนื่องจากเมื่อโลกเข้าสู่สังคมไร้ศูนย์กลาง
             รัฐจึงไม่ใช่ตัวแสดงหลักแต่เพียงตัวแสดงเดียวอีกต่อไป

                   2) สิ่งที่รัฐต้องทำ รัฐจะต้องดำเนินการอย่างไร โดยรัฐจะต้องตั้งโจทย์กับการลดต้นทุน

             และข้อจำกัดในการบริหารจัดการภาครัฐ และต้องตระหนักว่ารัฐไม่สามารถทำงานแบบเดิมได้
             และรัฐต้องตั้งโจทย์กับรูปแบบในการบริการสาธารณะที่จะต้องทำให้สอดคล้องกับความต้องการ
             และความคาดหวังของประชาชน ทั้งนี้ ความต้องการและความคาดหวังนั้นไม่เคยลดลง
             แต่ว่ามีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตลอดเวลา


                   ทั้งนี้ อ้อนฟ้าได้เน้นย้ำว่าโจทย์ใหม่ของรัฐไทยในการบริหารจัดการภาครัฐ โดยเฉพาะ
             อย่างยิ่งในมุมของฝ่ายปฏิบัติการ คือ

                   1) รัฐจะทำอย่างไรให้ตอบโจทย์ความต้องการและความคาดหวังของประชาชนได้ และ

                   2) รัฐจะต้องเพิ่มขีดความสามารถตัวเองอย่างไร โดยอ้อนฟ้ามองว่า การเพิ่มขีด

             ความสามารถนั้น จะต้องกระทำโดยมี “การออกแบบใหญ่” (Grand Design) คือ หนึ่ง
             รัฐจะต้องรู้เป้าหมายว่า เป้าหมายที่แท้จริงคืออะไร สอง รัฐจะต้องทบทวนว่ากลไกที่จะนำไปสู่
             เป้าหมายคืออะไร โดยจะต้องพิจารณาทั้งด้านข้าราชการ ด้านวัฒนธรรม และกฎระเบียบ และ

             สุดท้าย รัฐจะต้องดูบริบทที่เกี่ยวข้อง และการเพิ่มขีดความสามารถ จะต้องมีกลยุทธ์หลัก
             4 ข้อ คือ
                     -  รัฐจะต้องพัฒนาเรื่องการบริการ โดยเฉพาะการบริการบนช่องทางออนไลน์ ซึ่งจะ
                       ต้องทำให้ผู้คนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกันด้วย
                     -  รัฐจะต้องปรับโครงสร้างและปรับภารกิจ

                     -  รัฐจะต้องปรับสู่การเป็นรัฐดิจิทัล
                     -  ตัวกฎหมาย หรือกฎระเบียบต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสมแล้ว ก็อาจจะต้องปรับเช่นกัน


             กฎหมายคืออุปสรรค... หรือเพราะไม่รู้จักใช้กฎหมาย


                   จะเห็นได้ว่าเมื่อพูดถึงปัญหาในการบริหารจัดการภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริหาร
             จัดการในภาวะวิกฤต หลายคนมักจะนึกถึงกรณีที่การบริหารจัดการนั้น “ขาดความคล่องตัว”
             และเมื่อมีการกล่าวถึงสาเหตุของการขาดความคล่องตัวนั้น เหตุแรก ๆ ที่มักจะถูกนึกถึงก็คือ

             อุปสรรคจากตัวบทกฎหมายที่อาจจะมีมากเกินไป หรือกำหนดกติกาตลอดจนระเบียบวิธีปฏิบัติ
             ไว้เยอะเกินไป หรือการบังคับใช้และตีความที่เคร่งครัดจนเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่
             อย่างไรก็ตาม มานิตย์ จุมปา ได้สะท้อนมุมมองอีกมุมมองเกี่ยวกับประเด็นปัญหาดังกล่าว
             ดังนี้                                                                                    สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 4


                   1) ประเด็นเกี่ยวกับการตรากฎหมาย โดยในประเด็นนี้ มานิตย์ได้อธิบายว่ากฎหมาย
             ทุกฉบับนั้นมีขึ้นได้เพราะรัฐเป็นผู้ตรากฎหมาย (ส่วนใหญ่แล้ว ฝ่ายบริหารเป็นผู้เสนอกฎหมาย
   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220