Page 218 - kpiebook65043
P. 218
21 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
- การทำข้อมูลดิจิทัล (Digital Data) โดยจะต้องทำระบบเปิดข้อมูลทุกส่วนผ่าน
ระบบดิจิทัล (Open Data) เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลของภาครัฐได้ ซึ่งรวมถึง
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของภาครัฐ และเปิดระบบให้ประชาชนสามารถบอก
ความต้องการของประชาชนเองต่อภาครัฐได้เพื่อให้ภาครัฐสามารถปรับการบริการสาธารณะ
ที่เหมาะสมกับประชาชนได้ และต้องเปิดให้ประชาชนประเมินการทำงานของภาครัฐ
หรือสามารถติชมภาครัฐได้ จนท้ายที่สุด ต้องทำให้ช่องทางดิจิทัลกลายเป็นช่องทางที่สร้าง
โอกาสให้ภาคส่วนอื่นเข้ามาร่วมทำงานกับรัฐได้
ที่สำคัญ ในประเด็นดังกล่าวนี้ เอกชัย สุมาลี ยังได้กล่าวเสริมอีกว่าการทำการบริหาร
จัดการภาครัฐให้เป็นดิจิทัลนั้น ควรมีลักษณะเป็น “การแปลงโฉมให้เป็นดิจิทัล” (Digital
transformation) โดยจะต้องมีการจัดกระบวนการและขั้นตอนให้มีการรองรับการทำงาน
ของระบบดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการสร้างข้อมูลที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่องบนฐานข้อมูล
ดิจิทัล ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลไกในการบริหารจัดการในแต่ละภาคส่วนให้มี
การเชื่อมโยงข้อมูลกันได้ ทั้งนี้ เอกชัยเน้นย้ำว่าจะต้องมีการสร้างระบบจัดการฐานข้อมูล
ทั้งหมด และต้องมีการทดสอบกระบวนการที่สร้างขึ้นมาสำหรับจัดการกับข้อมูล เพื่อให้ได้
การจัดการข้อมูลที่มีความแม่นยำ และสามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในภาวะวิกฤต
นอกจากนี้ กอบศักดิ์ ภูตระกูล ก็ได้นำเสนอทางออกเพื่อปรับการบริหารจัดการภาครัฐ
อีก 7 ประการ คือ
1) การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย : ซึ่งกอบศักดิ์ได้เน้นย้ำว่าควรจะต้องมีการทบทวน
และแก้ไขปรับปรุงกฎหมายโดยให้มีการบังคับใช้กฎหมายที่สามารถยืดหยุ่นต่อการจัดการกับ
ภาวะวิกฤตได้ และเห็นว่ากฎหมายที่มีอยู่นั้นอาจไม่เพียงพอต่อการจัดการกับภาวะวิกฤต
ที่สำคัญ กอบศักดิ์ยังเสนอด้วยว่าควรมีกฎหมายแม่บทเฉพาะที่บัญญัติเกี่ยวกับการจัดการวิกฤต
ซึ่งกฎหมายนั้นอาจกำหนดให้มีการลัดขั้นตอนบางอย่าง หรือยกเว้นขั้นตอนบางประการที่มีใน
ภาวะปกติได้ในกรณีที่เกิดภาวะวิกฤต
2) ระบบสั่งการ : ควรมีการสร้างระบบสั่งการที่มีวินัยมากกว่านี้ หรืออาจกำหนดให้
ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการรวมศูนย์สั่งการในกรณีที่เกิดภาวะวิกฤต รวมถึงการกำหนดบทลงโทษ
ในกรณีที่หน่วยงานบางหน่วยงานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งในช่วงที่เกิดภาวะวิกฤตด้วย
3) การสร้างระบบเครือข่าย : ซึ่งหมายถึงการสร้างระบบโครงข่ายชุมชนที่เข้มแข็ง
สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 4 ในอนาคตวิกฤตที่เกิดขึ้นจะเป็นวิกฤตเชิงพื้นที่ ซึ่งถ้าหากให้รัฐบาลส่วนกลางลงไปแก้ไขเอง
ในพื้นที่ แล้วให้โครงข่ายชุมชนในพื้นที่นี้มีบทบาทในการต่อสู้กับภาวะวิกฤตต่าง ๆ เพราะ
ในชุมชน อาจไม่ได้ผลดีเท่าให้คนในชุมชนช่วยกันแก้ไขเองแล้วรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนการแก้ไข
ปัญหานั้น ซึ่งข้อเสนอนี้สอดคล้องกับที่วสันต์ให้ความเห็นว่า ต่อไปรัฐบาลส่วนกลางอาจไม่ใช่
ผู้เล่นหลัก แต่จะต้องวางตัวเป็นผู้อำนวยให้เกิดการแก้ไขปัญหา โดยกอบศักดิ์ได้กล่าวถึง