Page 203 - kpiebook65043
P. 203
สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23 203
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 3 6
การประชุมกลุ่มย่อยนี้ได้พูดถึงอำนาจของฝ่ายตุลาการในการตัดสินคดีทางการเมือง
โดยฝ่ายตุลาการเองมีมุมมองที่ว่าโดยทั่วไปแล้ว ฝ่ายตุลาการไทยไม่สามารถอภิวัตน์ตนเองได้
แต่การใช้อำนาจที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการอภิวัตน์นั้น เกิดจากฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็น
ตัวแทนของประชาชนเขียนกฎหมายให้อำนาจแก่ฝ่ายตุลาการเอง แต่ศาลเองก็ยังคงมีข้อจำกัด
ในการใช้อำนาจตุลาการอยู่ ส่วนหลายกรณีที่มีการวินิจฉัยคดีก้าวล่วงไปยังการใช้อำนาจของ
ฝ่ายการเมืองนั้น วิทยากรได้ให้ข้อสรุปที่สำคัญ ดังนี้
1) การแก้ปัญหาโดยการยุบฝ่ายตุลาการหรือเข้าไปก้าวก่ายกับการเป็นอิสระของ
ฝ่ายตุลาการนั้น เป็นสิ่งที่ไม่สมควร
2) ฝ่ายตุลาการนั้นถือว่ามีจุดอ่อนคือจุดยึดโยงกับประชาชนที่น้อยกว่าฝ่ายการเมือง
อื่น ๆ ดังนั้น การใช้อำนาจของฝ่ายตุลาการก็ควรใช้อำนาจด้วยความระมัดระวัง กล่าวคือ
ใช้อำนาจด้วยการเคารพการใช้อำนาจทางการเมืองขององค์กรอื่น ประเด็นใดที่เห็นว่าเป็นเรื่อง
การเมืองโดยแท้ ก็ควรให้ฝ่ายการเมืองตัดสินใจ และที่สำคัญ ฝ่ายตุลาการเองก็ไม่ควรวินิจฉัย
คดีหรือวางตนเป็นฝ่ายตรงข้ามหรือขัดแย้งกับประชาชนโดยไม่จำเป็น
3) สำหรับกรณีของประเทศไทยเองนั้น ฝ่ายการเมืองเองก็ควรพิจารณาด้วยเช่นกันว่า
ประเด็นปัญหาใดที่มีลักษณะเป็นการเมืองโดยแท้ ซึ่งถ้าหากประเด็นนั้นมีลักษณะเป็นการเมือง
โดยแท้แล้ว ก็ควรใช้กลไกทางการเมืองระงับข้อพิพาทนั้นเอง ไม่ควรนำเรื่องขึ้นสู่การพิจารณา
ของศาล เพราะจะทำให้เรื่องทางการเมืองกลายเป็นเรื่องของกฎหมาย และนำไปสู่การตัดสินใจ
ว่าถูกหรือผิด ไม่สามารถหาวิธีการที่สมประโยชน์ทั้งสองฝ่ายผ่านการต่อรองได้
4) การวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองของศาล ควรจะเคารพเสียงของประชาชน และ
เหตุผลเดียวในยุคปัจจุบันที่จะสร้างความชอบธรรมให้แก่ฝ่ายตุลาการในการเข้าไปวินิจฉัยคดี
ทางการเมือง ก็คือ การเข้าไปวินิจฉัยเนื่องจากการตัดสินใจของฝ่ายการเมือง หรือประชามติ
นั้น จะทำให้เกิดการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
6 สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 3 โดย นางสาวอภิญญา ดิสสะมาน นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ สำนักสันติวิธี สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
และธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า