Page 202 - kpiebook65043
P. 202

202   สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


           รัฐธรรมนูญ แต่ศาลเคยวินิจฉัยว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นขัดรัฐธรรมนูญ
           ฝ่ายการเมืองก็เอาประเด็นดังกล่าวไปหาเสียงว่าถ้าหากได้รับเลือกตั้งจะแก้ไขกฎหมายและ
           จำกัดอำนาจศาล ซึ่งเมื่อได้รับเลือกตั้งก็ทำเช่นนั้นจริง แต่ก็ถูกฝ่ายตุลาการวินิจฉัยอยู่ดีว่า
           การจำกัดอำนาจศาลนั้นขัดรัฐธรรมนูญเพราะทำลายแก่นของรัฐธรรมนูญเรื่องสิทธิเสรีภาพ

           ในการเข้าถึงความยุติธรรม เป็นต้น

                 หรืออาจมีอีกกรณีที่เป็นการโต้กลับและนำไปสู่การยุบศาลรัฐธรรมนูญ อย่างกรณีของ
           ประเทศคีร์กีซสถาน ซึ่งเกิดความวุ่นวายทางการเมือง และศาลรัฐธรรมนูญก็วินิจฉัยคดีเป็นคุณ
           กับประธานาธิบดีตลอดจนเป็นที่สงสัย และก็ปรากฏหลักฐานว่าฝ่ายตุลาการมีการทุจริต

           จนสุดท้ายมีการลงประชามติกันจนทำให้ต้องยุบศาลรัฐธรรมนูญ เป็นต้น


           ปัจฉิมกถา : สิทธิเสรีภาพทางกฎหมาย หรือวัฒนธรรม
           ที่ต้องใช้ฝ่ายการเมืองตัดสินใจ ?


                 จากที่กล่าวมาทั้งหมด วิทยากรหลายท่านได้ให้ความเห็นไปในทางเดียวกันว่า

           เมื่อใดก็ตามที่การตัดสินใจของฝ่ายการเมืองนั้นจะนำไปสู่การละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
           หรือเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน เมื่อนั้นฝ่ายตุลาการก็มีความชอบธรรม
           ที่จะต้องเข้าไปวินิจฉัยได้ แต่ กล้า สมุทวณิช ก็ได้สะท้อนให้เห็นว่า ในบางกรณีก็เป็นการยาก
           เช่นกันที่จะวินิจฉัยว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพที่เป็นเรื่องทางกฎหมายอย่างแท้จริง
           หรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมที่ต้องการการยอมรับจากสังคมและจำเป็นต้องให้ผู้แทน

           ของประชาชนซึ่งเป็นฝ่ายการเมืองตัดสินใจ เช่น กรณีของคำพิพากษาในคดีเกี่ยวกับกฎหมาย
           Defense of Marriage Act 1996 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ตัดสิทธิ์ในการสมรสของบุคคลเพศ
           เดียวกัน และศาลก็ได้วินิจฉัยว่ากฎหมายดังกล่าวนั้นขัดรัฐธรรมนูญเพราะถือว่ากระทบ

           ต่อสิทธิขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อยได้ให้ความเห็นในประเด็นนี้ว่า
           จริงอยู่ว่าการรักกัน หรือการอยู่ด้วยกันถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน แต่การสมรสนั้น ถือว่าเป็น
           สิทธิขั้นพื้นฐานหรือไม่ หรือว่าเป็นเรื่องของวัฒนธรรมที่สังคมจะต้องให้การยอมรับร่วมกัน
           ซึ่งถ้าเป็นอย่างหลัง จะถือว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ตุลาการควรตัดสินหรือไม่ หรือว่าเป็นเรื่อง
           ที่ควรคืนการตัดสินใจให้แก่ผู้แทนของปวงชนเป็นผู้ตัดสินใจแทน ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้

           อาจนำไปตั้งคำถามกับการวินิจฉัยกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญในหลายคดีในประเทศไทยได้เช่นกัน
           และเป็นประเด็นที่ควรได้รับการศึกษาต่อไป
    สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207