Page 197 - kpiebook65043
P. 197
สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23 19
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
จากกรณีศึกษาข้างต้นทำให้เห็นว่า การที่ฝ่ายตุลาการจะเข้าไปวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับ
การเมืองหรือไม่นั้น แต่ละประเทศจะมีการตีความและการตัดสินใจของฝ่ายตุลาการที่แตกต่างกัน
ซึ่งความแตกต่างกันนี้เกิดจากความสอดคล้องกับบริบททางประวัติศาสตร์ และกฎหมาย
รัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้อำนาจเป็นสำคัญ
ในประเด็นที่เกี่ยวกับการตัดสินข้อพิพาททางการเมืองและกฎหมายนี้ นอกจากกรณี
ศึกษาทั้งสองประเทศจะสะท้อนให้เห็นพัฒนาการที่ฝ่ายตุลาการใช้อำนาจแล้วส่งผลกระทบต่อ
การตัดสินใจทางการเมืองแล้ว เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง ยังได้สะท้อนภาพถึงการตัดสินใจ
แก้ปัญหาด้วยประเด็นทางการเมืองและประเด็นทางกฎหมายด้วย โดยเข็มทองได้ชี้ให้เห็น
อีกครั้งว่าการออกแบบองค์กรที่ทำหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญส่วนหนึ่งเกิดจากในยุคหลัง
หลายประเทศทั่วโลกที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้เริ่มให้ความสนใจกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
และสิทธิพลเมือง ดังจะเห็นได้จากการบัญญัติในรัฐธรรมนูญหลายประเทศที่จะมีการบัญญัติ
เรื่องสิทธิเสรีภาพ ทำให้ต้องมีองค์กรทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญกำหนดขึ้น และ
ก็คงไม่มีองค์กรใดที่ชอบธรรมมากไปกว่าฝ่ายตุลาการ และเมื่อกำหนดให้ฝ่ายตุลาการมีอำนาจ
ควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งหมายถึงการควบคุมการใช้อำนาจขององค์กรทางการเมือง
ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
แล้ว บางประเทศก็อาจเกิดกรณีการนำข้อพิพาทซึ่งเป็นเรื่องทางการเมืองไปให้ศาลตัดสิน
ซึ่งก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่าทำให้เรื่องทางการเมืองกลายเป็นเรื่องทางกฎหมาย
เมื่อกล่าวถึงประเด็นเรื่องทางการเมืองและเรื่องทางกฎหมายนี้ เข็มทองก็ได้อธิบาย
เพิ่มเติมว่า จริง ๆ แล้ว เมื่อเกิดปัญหาใดปัญหาหนึ่งขึ้นมาในระบบการเมืองการปกครอง
ก็จำเป็นจะต้องพิจารณาให้ดีเสียก่อนว่า เรื่องที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเรื่องทางการเมืองหรือเรื่องทาง
กฎหมาย ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีวิธีการแก้ไขที่ไม่เหมือนกัน ผลลัพธ์ไม่เหมือนกัน และก่อให้เกิด
ผลกระทบที่ไม่เหมือนกัน
ทั้งนี้ ถ้าหากประเด็นดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องทางการเมืองจะมีลักษณะที่ยืดหยุ่นและเจรจาได้
แต่อีกมุมหนึ่งคือ ด้วยความที่เรื่องทางการเมืองเป็นเรื่องที่เจรจาได้นี่เอง ก็ส่งผลให้เรื่อง
ทางการเมืองนั้นมีความไม่แน่นอน และวิธีแก้ปัญหาของเรื่องทางการเมืองนั้น ก็อาจจะเป็น
การทำด้วยการเจรจาต่อรองซึ่งบางทีเรื่องอาจจะไม่จบหรือไม่ได้ข้อยุติในเวลาอันรวดเร็ว
แต่อย่างน้อยที่สุด การเจรจาต่อรองก็อาจทำให้เกิดโอกาสที่จะสมประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
(win - win) ได้ แต่ในขณะเดียวกัน เรื่องทางกฎหมายนั้น เป็นเรื่องที่ชี้ขาดว่าสิ่งใดถูกหรือ
สิ่งใดผิด ซึ่งมีข้อดีคือประเด็นใดที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ ถ้าหากนำเรื่องนั้นขึ้นฟ้องต่อศาล
ศาลก็จะสามารถหาข้อยุติได้ด้วยวิธีการทางกฎหมาย โดยการชี้ถูกผิดหรือชี้ว่าอะไรดีอะไรไม่ดี
แต่ก็มีข้อเสียคือการขึ้นศาลนั้นจะมีผลเป็นแค่ฝ่ายใดแพ้ หรือฝ่ายใดชนะ แต่จะแทบไม่มีโอกาส
ที่จะเกิดกรณีที่ชนะหรือสมประโยชน์ทั้งสองฝ่ายได้เลย และการตัดสินตามข้อกฎหมาย ก็ไม่ใช่ สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
กรณีที่จะเกิดความยืดหยุ่นได้อีกด้วย