Page 195 - kpiebook65043
P. 195

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  195
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


             ฝ่ายบริหาร และศาลมาอยู่ใต้อาณัติของรัฐสภา หรือก็คือ มีอำนาจตามกฎหมายเท่าที่รัฐสภา
             กำหนด และเกิดหลักที่ว่า กฎหมายใด ๆ ที่รัฐสภาตราขึ้นมีสถานะสูงกว่ากฎหมายที่มาจาก
             แหล่งอื่น ๆ (ที่มักถูกเรียกว่าหลัก Supremacy of Parliament) ส่งผลให้การใช้พระราชอำนาจ
             ของพระมหากษัตริย์ผ่านฝ่ายบริหาร (Prerogative Power) กลายเป็นอำนาจที่อยู่ใต้รัฐสภา

             ด้วยเช่นกัน ภาพสะท้อนตรงนี้ทำให้การใช้อำนาจของฝ่ายบริหารไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตามไม่ถูก
             มองว่าเป็นอำนาจพิเศษ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ว่าฝ่ายบริหารจะใช้อำนาจในฐานะ
             ฝ่ายปกครอง หรือใช้อำนาจทางการเมืองในลักษณะที่เป็นการกระทำทางรัฐบาล ก็ไม่ถูกมองว่า

             เป็นสิ่งที่พิเศษที่องค์กรอื่นใดจะเข้ามาแตะต้องหรือก้าวล่วงไม่ได้ เมื่อการใช้อำนาจของรัฐบาล
             ไม่มีพื้นที่พิเศษนี้ ก็ทำให้ฝ่ายตุลาการหรือศาลสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ว่าการใช้อำนาจของ
             ฝ่ายบริหารสอดคล้องกับขอบเขตของพระราชบัญญัติที่รัฐสภาได้ตราขึ้นเพื่อให้อำนาจไว้หรือไม่
             และเมื่อศาลใช้อำนาจนี้ ก็จะไม่ค่อยเกิดการตั้งคำถาม เพราะโดยบริบททางประวัติศาสตร์
             ทางการเมืองของอังกฤษ ฝ่ายบริหารไม่ได้มีปริมณฑลพิเศษในเรื่องการใช้อำนาจอยู่แล้ว


                   อย่างไรก็ตาม ในประเด็นดังกล่าวนี้มีกรณีศึกษาที่น่าสนใจ คือ กรณีที่ศาลได้วินิจฉัย
             มีผลไปในทางตรงข้ามกับเสียงประชามติที่ยุติโดยประชาชนในกรณีของการออกเสียงเพื่อออก
             จากสหภาพยุโรปที่เรียกว่า “Brexit” ใน ค.ศ. 2016 โดยได้มีการทำประชามติกันก่อนแล้วว่า
             ประชาชนเห็นชอบด้วยกับการให้อังกฤษออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปแต่จะต้องไป

             ตรากฎหมายเป็นการภายในให้เรียบร้อยก่อน และรัฐบาลก็ตัดสินใจเลือกใช้อำนาจเฉพาะของ
             ฝ่ายบริหาร ซึ่งก็คือการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารในฐานะรัฐบาลเหมือนการทำหนังสือสัญญา
             ระหว่างประเทศอย่างหนึ่งในการออกจากการเป็นสมาชิกแทนที่จะขอความยินยอมของรัฐสภา

             ด้วยการตราพระราชบัญญัติก่อน และฝ่ายรัฐสภาก็นำเรื่องนี้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาล
             โดยประเด็นที่เป็นการโต้แย้งหลักก็คือว่า การออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปนั้น
             ใช้อำนาจอะไรกันแน่

                   และแม้ว่าการตัดสินใจของรัฐบาลในกรณีดังกล่าวนั้นจะมีลักษณะเป็นการกระทำทาง

             รัฐบาล อีกทั้งยังเป็นการกระทำทางรัฐบาลที่สอดคล้องกับมติของมหาชน แต่ศาลฎีกาของ
             อังกฤษ (Supreme Court) ก็ได้ตัดสินว่า การออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปมีผลทำให้
             เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของรัฐธรรมนูญอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากมีผลเป็นการยกเลิก
             สิทธิเสรีภาพของประชาชนบางอย่างที่ได้รับการรับรองไว้ตามกฎหมายของสหภาพยุโรป

             เมื่อเรื่องดังกล่าวสำคัญ ฝ่ายบริหารจึงไม่สามารถใช้อำนาจเฉพาะที่เป็นการกระทำทางรัฐบาล
             หรืออ้างเสียงของประชาชนได้ ดังนั้น ในเมื่อเรื่องดังกล่าวจะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ
             ของประชาชน การขอความยินยอมจากตัวแทนของประชาชนจึงเป็นวิธีที่ถูกต้อง ดังนั้น
             กรณีนี้ รัฐบาลจะต้องขอความยินยอมจากรัฐสภาโดยการตราพระราชบัญญัติเสียก่อน


                   แต่ในกรณีของประเทศฝรั่งเศสนั้นแตกต่างกัน โดยรวินท์ได้พยายามชี้ให้เห็นว่า            สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
             หลังการปฏิวัติใน ค.ศ. 1789 ประเทศฝรั่งเศสก็มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยสลับกับ
   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200