Page 191 - kpiebook65043
P. 191

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  191
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


             โดยจรัญได้ชี้ให้เห็นว่าใน ค.ศ. 1802 นั้น สหรัฐอเมริกาได้เกิดการวินิจฉัยว่ากฎหมาย
             ขัดรัฐธรรมนูญของศาลสูงสหรัฐในคดี Marbury V. Madison ขึ้น ซึ่งในกรณีดังกล่าวนั้น
             ศาลสูงสหรัฐได้ตีความกฎหมายที่ตราโดยฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายที่ศาลจะต้องนำมาใช้
             บังคับแก่คดีที่วินิจฉัยอยู่นั้นว่า กฎหมายดังกล่าวมีเนื้อหาที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

             และไม่สามารถนำมาบังคับใช้กับคดีนั้นได้ ซึ่งในขณะนั้นก็มีฝ่ายการเมืองโต้แย้งเช่นกันว่า
             การที่ศาลสูงมาวินิจฉัยไม่ใช้บังคับกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติตราขึ้นเช่นนี้ เท่ากับศาลกำลังใช้
             อำนาจของฝ่ายตุลาการก้าวล่วงอำนาจในการตรากฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ อย่างไรก็ตาม

             ในประเด็นนี้ ศาลสูงสหรัฐได้ให้เหตุผลในการเข้าไปตีความกฎหมายลักษณะดังกล่าวว่า
             ศาลเป็นองค์กรที่มีหน้าที่นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาใช้บังคับกับคดี ดังนั้น ศาลจำเป็นที่จะ
             ต้องตีความกฎหมายที่กำลังจะนำมาบังคับใช้นั้น และเมื่อศาลเห็นว่ากฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
             ตราขึ้นมีข้อความที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญซึ่งถือเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีลำดับ
             ศักดิ์สูงที่สุด (รวมถึงสูงกว่ากฎหมายที่ตราโดยรัฐสภา) ศาลจะนำกฎหมายดังกล่าวมาบังคับ

             ใช้ได้อย่างไร และถ้าหากศาลยังคงบังคับใช้กฎหมายที่ขัดรัฐธรรมนูญนั้นอยู่ ก็เท่ากับว่า
             ศาลตัดสินคดีขัดรัฐธรรมนูญเสียเอง ด้วยเหตุนี้ จึงเท่ากับศาลสูงสหรัฐได้วางหลักการ
             ให้ฝ่ายตุลาการมีอำนาจวินิจฉัยกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นครั้งแรกในคดีดังกล่าว

                   หลังจากนั้น ก็ได้เกิดคำถามต่อ ๆ มาในทำนองที่เห็นพ้องกับแนวทางการตัดสินคดี

             ดังกล่าวของศาลสูงสหรัฐว่า ถ้าไม่ใช่ฝ่ายตุลาการแล้ว จะมีองค์กรอื่นใดอีกที่เหมาะสม
             ในการชี้ว่ากฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ เพราะถ้าหากให้รัฐสภาเป็นองค์กรที่มีอำนาจเด็ดขาด
             ในการวินิจฉัยกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญแต่เพียงองค์กรเดียว ก็เป็นไปได้ยากอย่างยิ่งที่รัฐสภา

             จะกล้าวินิจฉัยว่ากฎหมายที่ตนเองตราขึ้นนั้นขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ หรือถ้าหากจะให้
             ฝ่ายบริหารเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยดังกล่าว ก็เป็นที่น่าสงสัยอยู่นั่นเองว่า ในระบบรัฐสภา
             ซึ่งฝ่ายบริหารมาจากเสียงข้างมากในรัฐสภา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เป็น “พวกเดียวกัน”
             กับเสียงข้างมากในรัฐสภาแล้ว ฝ่ายบริหารจะยังคงวินิจฉัยได้หรือไม่ว่ากฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น
             นั้นขัดรัฐธรรมนูญ


                   นอกจากนี้ กล้ายังได้กล่าวถึงในส่วนของการพัฒนาการของแนวความคิดดังกล่าว
             ในภาคพื้นยุโรปว่า เริ่มมีนักกฎหมายอย่าง Hans Kelsen ซึ่งเป็นนักกฎหมายชาวออสเตรีย
             ได้พัฒนาแนวความคิดดังกล่าวต่อมา นั่นคือ ในกรณีของศาลสูงสหรัฐนั้น แม้ว่าศาลจะวินิจฉัย

             ไม่นำกฎหมายมาใช้บังคับแก่คดีใดเนื่องจากกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่บทบัญญัติแห่ง
             กฎหมายดังกล่าวก็ไม่ได้ถูกยกเลิกไป เนื่องจากยังถือหลักที่ว่า ฝ่ายนิติบัญญัติจะต้องเป็น
             ผู้ยกเลิกกฎหมายดังกล่าวนั้นเสียเอง และต่อมา Kelsen จึงได้นำเสนอแนวคิดที่ว่า
             ควรมีองค์กรอีกองค์กรหนึ่ง ทำหน้าที่วินิจฉัยกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ และเมื่อวินิจฉัยว่า

             กฎหมายใดขัดรัฐธรรมนูญแล้วนั้น ก็จะต้องทำให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นสิ้นผลไป                สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
             ซึ่งเรียกว่าเป็นการใช้ “อำนาจนิติบัญญัติในทางลบ”
   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196