Page 189 - kpiebook65043
P. 189
สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23 1 9
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
การวินิจฉัยคดีทางการเมืองของฝ่ายตุลาการในประเทศไทย :
ตุลาการภิวัตน์ หรือการตีความกฎหมาย ?
(judicial activism or judicial interpretation)
เริ่มที่การทบทวนการใช้อำนาจตุลาการในประเทศไทยที่มีการกล่าวถึงกันบ่อยครั้งในช่วง
ที่ผ่านมาว่าการใช้อำนาจตุลาการในประเทศไทยเกี่ยวกับการวินิจฉัยคดีทางการเมืองนั้น
มีลักษณะเป็น “ตุลาการภิวัตน์” (Judicial activism) ซึ่งหมายถึง “การขยายขอบเขตอำนาจ
พิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลเข้าไปในปริมณฑลที่ปกติเป็นอำนาจหน้าที่ของนักการเมือง
หรือฝ่ายปกครองหรือเข้าไปก้าวก่ายอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายปกครอง” หรือ
2
“การมีบทบาทของฝ่ายตุลาการโดยใช้วิธีการวินิจฉัยพิพากษาคดีออกนอกขอบเขตการใช้อำนาจ
ตุลาการโดยแท้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกระบวนการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายหรือชอบ
ด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมายต่าง ๆ” หรือกล่าวอย่างง่าย ๆ ก็คือ ตุลาการภิวัตน์
เป็นกรณีที่ฝ่ายตุลาการเองได้วินิจฉัยคดีที่ส่งผลกระทบทางการเมืองที่โดยหลักแล้วไม่อยู่ในขอบ
อำนาจของฝ่ายตุลาการ ซึ่งในประเด็นนี้ จรัญ ภักดีธนากุล ได้ร่วมแลกเปลี่ยนว่าจริง ๆ แล้ว
ถ้าหากมองว่า “ตุลาการภิวัตน์” คือกรณีที่ศาลไปใช้อำนาจเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนดเอง
แล้วส่งผลให้เกิดการก้าวล่วงกับฝ่ายการเมืองแล้วนั้น ตุลาการภิวัตน์ในประเทศไทยแทบจะ
เรียกว่าเกิดขึ้นไม่ได้เลย เนื่องจากเหตุผลสำคัญห้าประการ คือ หนึ่ง เขตอำนาจของศาลจะต้อง
เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งถือว่าเป็นหลักการที่สำคัญในการวินิจฉัยคดี หรือกล่าวอีก
นัยหนึ่งก็คือ กฎหมายกำหนดให้ศาลมีขอบเขตในการวินิจฉัยคดีแค่ไหน ศาลก็จะต้องวินิจฉัย
คดีได้แค่นั้น ไม่ว่าจะเป็นเขตอำนาจในเรื่องของพื้นที่ หรือในเรื่องของเนื้อหาก็ตาม ศาลจะไปรับ
คดีที่อยู่นอกเขตอำนาจของตนเองไม่ได้ สอง ศาลไม่สามารถยกคดีขึ้นวินิจฉัยเองได้ นั่นคือ
แม้ว่าข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นข้อพิพาทที่อยู่ในเขตอำนาจศาลนั้นก็ตาม แต่ถ้าหากไม่มี
การนำข้อพิพาทมาสู่ศาล (ไม่มีการฟ้องร้อง) ศาลก็ไม่สามารถหยิบยกคดีขึ้นมาวินิจฉัยเองได้
สาม เมื่อมีการนำคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลแล้ว ศาลจะต้องตรวจสอบอีกว่า คำฟ้องร้อง
นั้น ต้องการให้ศาลวินิจฉัยในประเด็นอะไรหรือตรวจสอบอะไร และผู้ที่ฟ้องร้องนั้น มีอำนาจ
ในการฟ้องร้องคดีดังกล่าวหรือไม่ ถ้าหากผู้ฟ้องไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลก็ไม่สามารถรับคดีไว้
พิจารณาได้ สี่ ในกรณีที่ศาลได้รับวินิจฉัยคดีใดแล้ว การพิจารณาพิพากษา ก็จะต้องเป็นไป
ตามประเด็นที่ร้องขอให้ศาลวินิจฉัย จะวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคดีก็ไม่ได้ แม้กระทั่ง
ศาลรัฐธรรมนูญเอง ก็มีการกำหนดว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะต้องวินิจฉัยในประเด็น
ทุกประเด็นอย่างครบถ้วน เกินไม่ได้ และขาดไม่ได้ และห้า เมื่อรับวินิจฉัยคดีแล้ว เมื่อถึง
ขั้นตอนการพิพากษา ศาลก็มีกรอบกำหนดว่าจะพิพากษาให้เกินคำขอไม่ได้ แม้ว่าในหลายกรณี
2 เพลินตา ตันรังสรรค์. ปาฐกถา เรื่อง “ศาลกับปัญหาตุลาการภิวัตน์”, สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
จาก https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/272/files/S%E0%B9%88ub_Jun/4seminar/
s51%20jun_10_2.pdf