Page 193 - kpiebook65043
P. 193
สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23 193
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
ผลของคำพิพากษาดังกล่าวนั้นทำให้เกิดการทบทวนว่าการปล่อยให้ฝ่ายนิติบัญญัติ
มีสิทธิขาดในการตีความรัฐธรรมนูญแต่เพียงองค์กรเดียว ก็อาจเป็นการปล่อยให้ฝ่ายนิติบัญญัติ
ตรากฎหมายขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญอย่างไรก็ได้ เนื่องจากแทบเป็นไปไม่ได้เลย
ที่ฝ่ายนิติบัญญัติจะกล่าวเองว่ากฎหมายที่ตัวเองตราขึ้นนั้นขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าหาก
จะกำหนดให้ฝ่ายตุลาการมีอำนาจยกเลิกกฎหมายที่ขัดรัฐธรรมนูญ ก็จะดูเป็นการปล่อยให้
ฝ่ายตุลาการก้าวล่วงการใช้อำนาจนิติบัญญัติมากเกินไป ด้วยเหตุนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2489 เป็นต้นมา
จึงได้เกิดแนวคิดในการตั้ง “คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ” ขึ้น แบบเดียวกับประเทศฝรั่งเศส
เพื่อวินิจฉัยประเด็นกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ และต่อมาก็พัฒนาการขึ้นเป็น “ศาลรัฐธรรมนูญ”
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และเมื่อมีการประกาศใช้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ฉบับปัจจุบันแล้ว ก็จะเห็นว่าอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญนั้นมีมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกล่าวว่า
ฝ่ายตุลาการใช้อำนาจตัดสินคดีทางการเมือง แต่จรัญก็เห็นว่าที่ฝ่ายตุลาการมีอำนาจเช่นนี้
เป็นเพราะรัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจเอง ไม่ได้เป็นกรณีที่ว่าฝ่ายตุลาการไปเริ่มวินิจฉัยว่าตนเอง
มีอำนาจก่อนเหมือนอย่างกรณีประเทศอื่น ๆ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ฝ่ายตุลาการไทยไม่ได้
อภิวัตน์เอง แต่เกิดจากการใช้อำนาจตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดเท่านั้น หรือกฎหมายกำหนดให้ทำ
และกฎหมายนั้น ก็ไม่ได้สร้างขึ้นโดยฝ่ายตุลาการ แต่สร้างขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติเอง
เรื่องของ “การเมือง” กับ เรื่องของ “กฎหมาย” : ตุลาการภิวัตน์
ที่ล้ำหน้าหรือการพิพากษาที่ล้ำเส้น และการยอมรับของประชาชน
เมื่อโลกประชาธิปไตยในหลาย ๆ ประเทศได้ยอมรับการให้ฝ่ายตุลาการมีอำนาจวินิจฉัย
คดีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองแล้ว (แม้ว่าบางประเทศจะยอมรับแค่จุดเริ่มต้น คือ การให้ศาล
สามารถควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือร่างกฎหมายก็ตาม)
แต่หลาย ๆ ประเทศก็จะมีพัฒนาการในเรื่องนี้ที่แตกต่างกันออกไป บางประเทศยอมรับ
การเข้ามาตัดสินคดีทางการเมืองของฝ่ายตุลาการ (ซึ่งมักจะตัดสินโดยศาลรัฐธรรมนูญ)
บางประเทศก็เกิดกรณีที่องค์กรควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญใช้อำนาจอย่างจำกัด
จนรัฐธรรมนูญต้องบัญญัติขยายอำนาจให้เสียเอง หรือบางประเทศก็เกิดการไม่ยอมรับ
การเข้ามาตัดสินคดีทางการเมืองของฝ่ายตุลาการอย่างรุนแรง หรือในบางประเทศบทบัญญัติ
แห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายได้สะท้อนการต่อสู้ทางอำนาจของฝ่ายการเมืองและฝ่ายตุลาการ
อย่างชัดเจนเสียด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการใช้อำนาจของฝ่ายตุลาการโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งศาลรัฐธรรมนูญ (หรือบางกรณีก็ศาลปกครองด้วย) ก็ทำให้ประชาชนและนักวิชาการ
ตั้งคำถามว่ากรณีดังกล่าวถือเป็นกรณีที่ฝ่ายตุลาการไทยเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับคดีทางการเมือง
มากเกินไปหรือไม่ และกล้า สมุทวณิช ก็ได้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สาเหตุที่ประชาชน สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
ตั้งคำถามกับเรื่องดังกล่าว เป็นเพราะมีหลายกรณีที่ประชาชนเลือกผู้แทนเนื่องจากพอใจกับ
นโยบายที่ฝ่ายการเมืองนั้นใช้หาเสียง และเมื่อฝ่ายการเมืองพรรคนั้น ๆ ได้รับเลือกเข้ามา และ