Page 198 - kpiebook65043
P. 198

19   สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


                 อย่างไรก็ตาม เข็มทองได้แสดงให้เห็นว่า เป็นที่ยอมรับได้ว่าอำนาจในการวินิจฉัย
           กฎหมายหรือร่างกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญนั้น เป็นอำนาจที่มีการยอมรับในหลายประเทศ
           แต่ปัจจุบันการมอบอำนาจให้ฝ่ายตุลาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลรัฐธรรมนูญ ในฐานะที่เป็น
           องค์กรที่ “พิทักษ์ประชาธิปไตย” หรือไประงับข้อพิพาททางการเมืองก็จะทำให้ฝ่ายตุลาการ

           อยู่ในใจกลางของกระแสการเมือง ซึ่งทุกวันนี้ ฝ่ายการเมืองอาจจะไม่ได้ชอบใจที่ฝ่ายตุลาการ
           คว่ำร่างกฎหมาย แต่ถ้าหากเป็นร่างกฎหมายที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อนโยบายหลักจริง ๆ ก็อาจ
           จะไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่ถ้าหากเป็นกรณีการใช้อำนาจศาลระงับข้อพิพาททางการเมือง

           โดยการชี้ถูกหรือชี้ผิด เช่น การยุบพรรคการเมือง หรือตีความกฎหมายเพื่อชี้ว่าผู้สมัครคนใด
           ขาดคุณสมบัติ ประเด็นนี้ถือว่าเป็นประเด็นที่ต่างกันและค่อนข้างจะเกิดคำถามซึ่งจะต้อง
           พิจารณาเป็นรายคดีไป โดยบางคดีก็มีลักษณะเป็นคดีธรรมดา แต่บางคดีก็ก่อให้เกิดผลกระทบ
           อย่างใหญ่หลวงทางการเมือง


                 ในการกล่าวถึงประเด็นนี้ เข็มทองได้มุ่งให้เน้นพิจารณาถึงคดีที่ก่อผลกระทบอย่างใหญ่
           หลวงทางการเมือง โดยชี้ให้เห็นว่า ตั้งแต่หลัง ค.ศ. 2000 นี้ ฝ่ายตุลาการในหลายประเทศ
           ได้ถูกกำหนดให้มีบทบาทในการสู้กับฝ่ายการเมือง จริงอยู่ว่าในหลายประเทศอาจเกิดกรณีที่
           ฝ่ายตุลาการทำหน้าที่ถ่วงดุลกับรัฐบาลที่เป็นเผด็จการเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน
           แต่ก็มีหลายประเทศเช่นกันที่เกิดกรณีที่เรียกว่า “การใช้การพิทักษ์รัฐธรรมนูญในทางที่ผิด”

           (Abusive Judicial Review) หรือก็คือกรณีที่ศาลอ้างว่าศาลกำลังทำหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
           แต่ผลการวินิจฉัยก็ทำให้เกิดคำถามว่า ศาลกำลังทำหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญเพื่อใคร
           พิทักษ์เพื่ออะไร ซึ่งกรณีเช่นนี้ ถ้าหากพิจารณาเปลือกนอก ก็จะดูเหมือนว่าศาลกำลังทำหน้าที่

           พิทักษ์รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย แต่ถ้าหากไปพิจารณารายละเอียดแล้วอาจจะพบว่า
           ศาลกำลังทำหน้าที่รับใช้ผู้นำอำนาจนิยมก็ได้ ซึ่งกรณีของการใช้การพิทักษ์รัฐธรรมนูญในทาง
           ที่ผิดนี้ ก็อาจเกิดได้จากผู้นำข่มขู่ศาลให้กลัวจนกลายเป็นพวก หรืออาจเกิดจากกรณีที่ผู้นำ
           สามารถเจรจาโน้มน้าวศาลให้เข้ามาเป็นพวกก็ได้ และเมื่อศาลเลือกที่จะเข้าไปตัดสินคดีที่
           เกี่ยวข้องกับการเมืองแล้ว ศาลก็จะถูกมองว่าเป็นหนึ่งในองค์กรทางการเมืองทันที และเมื่อศาล

           “เล่น” การเมือง การเมืองก็จะ “เล่น” ศาลเช่นกัน โดยอาจจะเป็นการเล่นผ่านการแทรกแซงการ
           แต่งตั้งตุลาการ หรือเล่นผ่านการออกกฎหมายบางอย่างเพื่อจำกัดอำนาจ

                 เข็มทองยังได้ชี้ชวนให้พิจารณาอีกว่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ประเทศไทยเองก็ได้เห็น

           ปรากฏการณ์เกี่ยวกับการใช้อำนาจตุลาการตัดสินคดีทางการเมืองหลายครั้ง ซึ่งแต่ละครั้ง
    สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 3   แห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดภารกิจอย่างอื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญ เช่น การให้อำนาจในการสรรหา
           ก็อาจจะมีทั้งผลที่ทำให้ประชาชนพอใจและไม่พอใจ อีกทั้งเรายังเห็นกรณีที่รัฐธรรมนูญ

           องค์กรอิสระ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงผลของคำวินิจฉัยของศาลที่เกี่ยวกับ

           คดีทางการเมืองแล้ว ก็อาจจำแนกผลได้สามแบบ คือ หนึ่ง การตัดสินไปในทางที่สวนกับ
           เสียงข้างมาก (anti-majoritarian) ซึ่งคำตัดสินประเภทนี้จะทำให้คนวิจารณ์เยอะ เพราะอาจจะ
           ไม่ตรงกับสิ่งที่พรรคการเมืองหรือกระแสการเมืองชอบ แต่ถ้าหากว่ากันตามกฎหมายแล้ว
   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203