Page 196 - kpiebook65043
P. 196
196 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
ระบอบเผด็จการมาโดยตลอด จนกระทั่งในสมัยของนโปเลียน ก็ได้มีความพยายามในการสร้าง
ฐานการใช้อำนาจในลักษณะของผู้นำที่มีความชอบธรรมมาจากปวงชน ซึ่งตลอดสมัยของ
นโปเลียนก็ได้มีความพยายามสร้างพื้นที่พิเศษหรือเอกสิทธิ์ให้แก่การดำเนินงานของฝ่ายบริหาร
ไม่ว่าจะเป็น การตั้งสภาแห่งรัฐ (Conseil d’Etat) ซึ่งทำหน้าที่วินิจฉัยคดีของฝ่ายปกครอง
โดยเฉพาะ (ไม่ให้ไปตกอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม) และสภาแห่งรัฐเองก็ได้วางหลักการกระทำ
ทางรัฐบาลซึ่งเป็นการดำเนินการของฝ่ายบริหารที่ฝ่ายตุลาการจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง
การสร้างพื้นที่เฉพาะในการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารโดยอาศัยฐานที่มาจากเสียงของ
ปวงชน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อใดที่ฝ่ายบริหารใช้อำนาจโดยมีที่มาจากฐานเสียงของ
ประชาชนหรือได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างชัดเจนจนไม่มีองค์กรอื่นกล้าวินิจฉัยกลับ
การตัดสินใจของฝ่ายบริหารนั้นปรากฏขึ้นมาตลอด และเห็นได้ชัดเจนอย่างยิ่งในสมัยของ
ประธานาธิบดีชาร์ลส์ เดอโกลล์ (Charles de Gaulle) โดยใน ค.ศ. 1962 นั้น ประธานาธิบดี
เดอโกลต้องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยเปลี่ยนการเลือกตั้งประธานาธิบดีจากการเลือกตั้ง
ทางอ้อมให้มาเป็นการเลือกตั้งโดยตรง โดยการเปลี่ยนแปลงนี้จำเป็นจะต้องแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญ และจะต้องนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมไปผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเสียงจากรัฐสภาแล้ว ทำให้เดอโกลเห็นได้ว่ามีความเสี่ยงสูงมาก
ที่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมจะไม่ได้รับความเห็นชอบ เนื่องจากวุฒิสภาเสียงข้างมากและ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติบางส่วนไม่ได้เป็นพวกเดียวกับเดอโกล ด้วยเหตุนี้ เดอโกลจึงตัดสินใจ
ใช้กระบวนการอีกอย่างตามรัฐธรรมนูญมาตรา 11 ซึ่งกำหนดให้ประธานาธิบดีสามารถเสนอ
ร่างกฎหมายที่จะมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของรัฐ และนำไปผ่านการออกเสียง
ประชามติแทนการผ่านรัฐสภาได้ เดอโกลจึงตีความว่าการเปลี่ยนวิธีการเลือกประธานาธิบดี
ดังกล่าวนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของรัฐ และนำร่างกฎหมายไปผ่านการออกเสียง
ประชามติ ซึ่งผลปรากฏว่าประชาชนให้ความเห็นชอบ
การดำเนินการดังกล่าวของเดอโกลส่งผลให้สมาชิกรัฐสภาบางส่วนไม่พอใจเนื่องจาก
การเปลี่ยนที่มาของประธานาธิบดีไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของรัฐ และ
เห็นว่าการเปลี่ยนวิธีการเลือกประธานาธิบดีจะต้องกระทำโดยผ่านกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญเท่านั้น จึงได้มีการนำประเด็นดังกล่าวร้องต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เพื่อให้
วินิจฉัยว่าการใช้อำนาจดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ทำตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
แต่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญกลับวินิจฉัยว่า คณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจดังกล่าว
เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยความชอบด้วย
สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 3 รัฐธรรมนูญของร่างกฎหมายเท่านั้น และไม่อาจมีอำนาจวินิจฉัยร่างกฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบ
จากประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยมาแล้วได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คณะตุลาการ
รัฐธรรมนูญจะไม่วินิจฉัยสิ่งที่ประชาชนได้ตัดสินใจมาแล้วนั่นเอง