Page 192 - kpiebook65043
P. 192
192 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
จากตรงนี้ เท่ากับโลกได้เริ่มตั้งคำถามต่อการปล่อยให้ฝ่ายการเมืองตีความรัฐธรรมนูญ
กันเอง แม้กระทั่งเป็นฝ่ายการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรงอย่างฝ่าย
นิติบัญญัติก็ตาม ว่ากลายเป็นการปล่อยให้องค์กรที่ถูกรัฐธรรมนูญสถาปนาขึ้นอยู่สูงกว่า
รัฐธรรมนูญได้หรือไม่ เพราะเป็นไปได้ยากเหลือเกินที่องค์กรเหล่านั้นจะวินิจฉัยว่าตนเองใช้
อำนาจขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ และต่อมาแนวคิดนี้ก็ได้แพร่กระจายออกไปทั่วโลกตั้งแต่
หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา
การกำเนิดของตุลาการภิวัตน์ในประเทศไทย
จากคดี Marbury V. Madison ของสหรัฐอเมริกา ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ประเทศไทยก็ได้เกิดคดีในลักษณะดังกล่าวขึ้น แต่จะต้องเข้าใจก่อนว่า ตั้งแต่การประกาศใช้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวร
ฉบับแรกของประเทศไทยเป็นต้นมา รัฐธรรมนูญได้บัญญัติมาโดยตลอดว่า “ท่านว่า
สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งสิทธิเด็ดขาดในการตีความแห่งรัฐธรรมนูญนี้”
3
ซึ่งหมายความว่า สภาผู้แทนราษฎรเท่านั้นที่จะสามารถตีความรัฐธรรมนูญแล้ววินิจฉัยว่า
องค์กรตามรัฐธรรมนูญใดใช้อำนาจเกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำหนดรวมถึงการวินิจฉัยด้วยว่า
กฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติตราขึ้นนั้น ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
อย่างไรก็ตาม จรัญได้เล่าข้อเท็จจริงต่อมาว่า หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้เกิดคดี
“อาชญากรสงคราม” ขึ้น โดยในขณะนั้นจะมีการจับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในฐานะ
รัฐบาลที่ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรขึ้นศาลเพื่อวินิจฉัยคดีอาชญากรสงคราม
แต่รัฐสภาในขณะนั้นก็ได้ตราพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พ.ศ. 2488 ขึ้น เพื่อต่อรอง
กับประเทศที่ชนะสงครามว่าจะขอให้จอมพล ป. ถูกพิพากษาคดีในประเทศไทยแทน โดยจะใช้
พระราชบัญญัติที่ตราขึ้นดังกล่าวในการลงโทษจอมพล ป. อย่างไรก็ตาม เมื่อคดีได้ขึ้นสู่
ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1/2489 วินิจฉัยว่า เมื่อคดีมาถึงศาลแล้ว
ศาลจะต้องตีความกฎหมายที่จะใช้ในการตัดสินคดี และถ้าหากศาลเห็นว่ากฎหมายที่จะใช้
พิพากษาคดีนั้นขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ศาลก็ไม่อาจใช้กฎหมายดังกล่าวมาตัดสินคดีได้
ในเมื่อพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม ฯ ดังกล่าวตราขึ้นหลังจากที่จอมพล ป. ได้กระทำ
ความผิดฐานอาชญากรสงคราม จึงไม่อาจใช้กฎหมายดังกล่าวเอาผิดกับจอมพล ป. ได้
เนื่องจากจะกลายเป็นการใช้กฎหมายให้มีผลย้อนหลังเป็นโทษทางอาญาซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญ
4
สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 3 ไม่สามารถบังคับใช้แก่คดีได้
นับเป็นครั้งแรกที่ศาลยุติธรรมเข้าไปพิพากษาซึ่งมีผลให้กฎหมายที่ตราโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
3
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 มาตรา 62
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1/2489
4