Page 190 - kpiebook65043
P. 190

190  สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


           โจทก์จะมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้มากกว่าที่ขอให้ศาลพิพากษา แต่ศาลก็ไม่สามารถพิพากษา
           ให้เกินคำขอได้ ดังนั้น ในเบื้องต้นจึงเห็นว่าศาลไทยแทบจะเป็นตุลาการภิวัตน์เอง
           โดยที่กฎหมายไม่ให้อำนาจไม่ได้เลย


                 นอกจากนี้ กล้า สมุทวณิช ยังได้กล่าวเสริมในประเด็นนี้โดยเชื่อมโยงกับทฤษฎี
           การแบ่งแยกการใช้อำนาจของมองเตสกิเออร์ที่เป็นต้นแบบในการร่างรัฐธรรมนูญ
           ลายลักษณ์อักษรทั่วโลกว่า การแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยเป็นสามอำนาจนั้น ดูเหมือนว่าอำนาจ
           ตุลาการจะถูกแยกออกมาจากอำนาจอื่น ๆ เนื่องจากมองเตสกิเออร์เองก็กล่าวเน้นในงานเขียน
           ของเขาว่าอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารนั้น เป็นอำนาจที่จะต้องมีการตรวจสอบถ่วงดุล

           ซึ่งกันและกัน ส่วนอำนาจตุลาการนั้นเป็นอำนาจที่ถูกแยกออกมาจากอำนาจอื่น ๆ และจะต้อง
           เป็นอิสระจากอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ รัฐบาลจะไม่สามารถ
           สั่งให้ศาลมีคำพิพากษาไปในทางที่ตนต้องการได้ และฝ่ายตุลาการจะต้องมีความเป็นอิสระทั้ง

           ภายนอกและภายใน นั่นคือ อิสระภายนอกตรงที่ไม่มีองค์กรใดที่จะบังคับให้ศาลต้องพิพากษา
           คดีไปในทางที่ตนต้องการได้ และอิสระภายในหมายถึงกรณีที่ตัวผู้พิพากษาเองก็มีความมั่นคง
           ในตำแหน่ง ไม่ใช่ว่าบุคคลใดจะใช้การโยกย้ายหรือการเลื่อนตำแหน่งมาข่มขู่ให้ผู้พิพากษา
           มีคำพิพากษาไปในทางที่ตนต้องการได้แม้แต่จะเป็นผู้พิพากษาระดับสูงด้วยกันเองก็ตาม


                 ทั้งนี้ ในยุคแรกที่มองเตสกิเออร์เขียนตำรานั้น เป็นยุคที่ยังไม่มีการแบ่งแยกกฎหมาย
           เอกชนออกจากกฎหมายมหาชนอย่างชัดเจน ดังนั้น การมองขอบเขตในการพิพากษาคดีของ
           ศาลจึงมองไปที่การตัดสินคดีตามกฎหมายเอกชน นั่นคือ การตัดสินคดีแพ่งและคดีอาญา
           และฝ่ายตุลาการเองก็ไม่ได้ถูกมองว่าจะต้องมาตรวจสอบหรือถ่วงดุลการใช้อำนาจของ

           ฝ่ายการเมือง ดังนั้น การกำหนดถึงคุณสมบัติและที่มาของผู้พิพากษา จึงมีลักษณะเฉพาะ
           ที่ไม่เหมือนกับฝ่ายการเมืองอื่น ๆ นั่นคือ กำหนดให้ผู้ที่จะเป็นผู้พิพากษาจะต้องมีคุณสมบัติ
           และมีความรู้เฉพาะ และไม่ยึดโยงกับฝ่ายการเมืองอื่น ๆ ตลอดจนมีการยึดโยงกับประชาชนน้อย
           เพราะโดยทั่วไปงานของฝ่ายตุลาการแทบจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองอยู่แล้ว


                 และเนื่องจากการไม่มีจุดยึดโยงกับการเมืองและมีจุดเกาะเกี่ยวกับประชาชนน้อยนี่เอง
           ทำให้การตัดสินคดีของศาลจะเน้นไปที่การชี้ว่า “ถูก” หรือ “ผิด” กฎหมาย เท่านั้น
           แต่ไม่สามารถวินิจฉัยคดีไปในทางที่ว่า “ควรทำอย่างไร” ได้ ซึ่งเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจ
           ฝ่ายบริหาร


    สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 3   ให้มีการแบ่งแยกการใช้อำนาจอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด และศาลก็ถือว่าจะต้องจำกัดอำนาจ
           แล้วตุลาการภิวัตน์ มีจุดเริ่มต้นในโลกจากตรงไหน ?

                 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าหลายประเทศที่บัญญัติรัฐธรรมนูญตามหลักมองเตสกิเออร์จะกำหนด



           ตนเองโดยการตัดสินคดีตามกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติตราขึ้นเท่านั้นเช่นกัน แต่ก็เริ่มมี
           วิวัฒนาการที่บ่งชี้ว่าศาลได้มีคำพิพากษาไปในทางที่ยกเลิกการตัดสินใจของฝ่ายการเมือง
   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195