Page 188 - kpiebook65043
P. 188

1    สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


                 อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ดุลอำนาจของฝ่ายตุลาการ
           ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเมืองได้เริ่มเปลี่ยนแปลงไป นั่นคือ หลายประเทศได้เกิดการ
           ตั้งข้อสงสัยต่อฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่ว่า แม้ว่าจะถือว่ารัฐธรรมนูญ
           เป็นบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรที่มีค่าบังคับสูงสุดในรัฐ แต่ถ้าหากฝ่ายการเมือง ไม่ว่าจะเป็น

           ฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหาร ได้กระทำการที่ล่วงละเมิดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เช่น
           ฝ่ายบริหารอาจใช้อำนาจเกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ หรือรัฐสภาอาจตรากฎหมายที่มี
           ลักษณะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ เช่นนี้ องค์กรใดจะทำหน้าที่ตรวจสอบ จริงอยู่ว่าแรกเริ่ม

           ที่หลายประเทศในโลกเริ่มมีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร หรือยุคเริ่มแรกที่หลายประเทศ
           กำลังก้าวเข้าสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย การตอบคำถามของเรื่องนี้อาจจะเป็นว่า
           “ให้ฝ่ายการเมืองตรวจสอบถ่วงดุลกันเอง” หรือก็คือให้ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารตรวจสอบ
           กันเองตามกลไกของระบบรัฐสภาหรือระบบประธานาธิบดี แต่เมื่อเกิดกรณีการละเมิด
           สิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในประเทศเยอรมนีซึ่งมีการใช้อำนาจ

           รัฐสภาตรากฎหมายไปในทางทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อีกทั้งหลายประเทศยังเริ่มเกิด
           คำถามด้วยว่าถ้าหากเกิดกรณีที่ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเป็นพวกเดียวกันแล้ว (และเกิด
           ขึ้นได้ง่ายมากโดยเฉพาะประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภาที่ให้รัฐบาลมาจากเสียงข้างมากของรัฐสภา)

           เช่นนี้ จะเกิดการตรวจสอบได้อย่างไร ด้วยเหตุนี้ หลายประเทศจึงเริ่มเกิดองค์กรใหม่ที่เรียกว่า
           “ศาลรัฐธรรมนูญ” หรือองค์กรอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากันแต่เรียกชื่ออย่างอื่น เช่น “คณะตุลาการ
           รัฐธรรมนูญ” เหมือนอย่างในประเทศฝรั่งเศส แต่องค์กรเหล่านี้ก็มีจุดหนึ่งที่เหมือนกัน คือ
           ทำหน้าที่ “ควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ” ของฝ่ายการเมือง


                 อย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นขององค์กรตุลาการที่มีลักษณะการให้ฝ่ายตุลาการเข้าไปตัดสิน
           คดีเกี่ยวกับการเมืองนี้ ได้ก่อให้เกิดวิวัฒนาการที่แตกต่างกันไปในหลายประเทศ สำหรับ
           ประเทศไทยเองนั้น รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่กำหนดให้มีศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง
           ทำหน้าที่ตัดสินคดีทางกฎหมายมหาชนได้เริ่มขึ้นตั้งแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่ง
           ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และประเด็นเกี่ยวกับกรณีที่ศาลทั้งสองศาลนี้เข้าไป

           วินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเมืองก็ได้ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา
           ท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์ของนักวิชาการหลาย ๆ ท่าน ก็ได้มีการยกตัวอย่างกรณีศึกษา
           ต่างประเทศมากมายทั้งในทางที่จำกัดอำนาจของฝ่ายตุลาการ หรือขยายขอบอำนาจของฝ่าย

           ตุลาการ ในห้องย่อยนี้ ชมพูนุท ตั้งถาวร นักวิชาการผู้ชำนาญการ สำนักส่งเสริมวิชาการ
           รัฐสภา สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะผู้ดำเนินรายการกลุ่มย่อยที่ 3 เรื่อง “ตุลาการภิวัตน์ :
    สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 3   เพื่อแลกเปลี่ยนในประเด็นดังกล่าว รวมทั้งฉายภาพให้เห็นว่า ในปัจจุบัน ดุลอำนาจของฝ่าย
           อำนาจตุลาการในการตัดสินคดีเกี่ยวกับการเมือง” จะขอนำทุกท่านเข้าสู่การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3


           ตุลาการในการตัดสินคดีเกี่ยวกับการเมืองนั้น มีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางใด และมีกรณีศึกษา

           เกี่ยวกับพัฒนาการในประเด็นดังกล่าวที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง เพื่อนำมาสู่การทบทวนการวางกรอบ
           การใช้อำนาจตุลาการในการตัดสินคดีทางการเมืองภายใต้ภูมิทัศน์ทางการเมืองใหม่ของประเทศไทย
   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193