Page 183 - kpiebook65043
P. 183

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  1 3
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


             แบบนี้อันตรายยิ่งกว่าสิ่งใดทั้งปวง เพราะไปขัดต่อเจตจำนงของคนในชาติ ขัดต่อหลักเหตุและผล
                                            7
             และขัดต่อหลักประโยชน์สาธารณะ”

                                              8
             สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 2

                   ในการประชุมกลุ่มย่อยที่ 2 นี้ เริ่มจากการฉายภาพกว้าง ๆ ของความผันผวน
             และความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยย้อนหลังไป 15 ปี (พ.ศ. 2549 – 2564) โดยวิทยากร
             ทุกท่านได้เห็นพ้องต้องกันว่า ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรัฐประหารมาแล้วทั้งสิ้น

             2 ครั้ง และมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับถาวรและฉบับชั่วคราวรวมทั้งสิ้น 4 ฉบับ และ
             ยังมีร่างรัฐธรรมนูญอีกหนึ่งฉบับที่ไม่ถูกประกาศใช้ และมีการเลือกตั้งทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จ
             นอกจากนี้ ในช่วงบรรยากาศทางการเมือง 4 - 5 ปีที่ผ่านมา ก็จะพบว่ามีการชุมนุมบ่อยขึ้น
             ซึ่งถือเป็นการแสดงการมีส่วนร่วมทางการเมือง


                   จากเหตุการณ์ความผันผวนทางการเมืองข้างต้น วิทยากรได้สรุปสาเหตุแห่งการผันผวน
             ทางการเมือง คือ หนึ่ง การปะทะกันของชุดความคิดและความเชื่อที่แตกต่างกัน โดยในช่วง
             แรกจะเป็นความแตกต่างทางความเชื่อที่แบ่งเป็นกลุ่ม “เสื้อเหลือง” และ “เสื้อแดง”

             ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่ ปัจจุบันความแตกต่างนี้ก็ถูกแบ่งแยกด้วยช่วงวัยและ
             ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดมุมมองที่แตกต่างกัน สอง อิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ก็ทำให้เกิด
             ความผันผวนทางสังคม ไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือ twitter หรือ clubhouse โดยสื่อ
             ออนไลน์เหล่านี้ทำให้ความเป็นปัจเจกชนมีความชัดเจนขึ้น ทำให้พลเมืองสนใจเรื่องที่ตนสนใจ
             ส่งผลให้การปะทะกันของความแตกต่างมีมากยิ่งขึ้น และ สาม การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง

             รวมถึงกติกาที่กำหนดการใช้อำนาจอย่างรัฐธรรมนูญ ก็ก่อให้เกิดความผันผวนทาง
             สถาบันทางการเมือง และสุดท้าย เหตุแห่งความผันผวนเกิดจากการตีความกฎหมายที่ส่งผลให้
             องค์กรบางภาคส่วนหรือภาคประชาชน ไม่สามารถทำงานหรือปฏิบัติตามวัตถุประสงค์เดิม

             ที่กำหนดไว้ได้

                   และจากสาเหตุความผันผวนข้างต้น วิทยากรในกลุ่มย่อยที่ 2 ได้อภิปรายกันในประเด็น
             ที่ว่าสถาบันทางการเมืองจะต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อให้สถาบันทางการเมืองนั้นมีความชอบธรรม
             ในช่วงเวลาที่ผันผวน โดยวิทยากรก็ได้คำตอบสำหรับข้อเสนอ ดังนี้


                   1) ในส่วนของพลเมืองนั้น จะเห็นว่าพลเมืองพยายามเข้ามามีพื้นที่ทางการเมืองมากขึ้น
             กว่าแต่ก่อนและพยายามมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ดังนั้น จึงควรเปิดพื้นที่หรือสร้างกลไก
             บางอย่างเพื่อให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ตลอดจนมีการกำหนดกฎหมาย



                 7   ความในวงเล็บเติมโดยผู้เรียบเรียง                                                  สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
                 8   สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 2 โดย นางสาวธีรพรรณ ใจมั่น ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา
             สถาบันพระปกเกล้า
   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188