Page 181 - kpiebook65043
P. 181

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  1 1
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


             ของสถาบันทางการเมืองจึงเปลี่ยนแปลงไป จนอาจกล่าวได้ว่าในปัจจุบันนี้ “ไม่มีความชอบธรรม
             ไหนที่จะหยุดนิ่งตายตัว หรือถูกเขียนได้ด้วยลายลักษณ์อักษรแต่เพียงอย่างเดียว
             แต่ (ความชอบธรรม) เกิดขึ้นจากการที่เราถกเถียง ปะทะสังสรรค์...แล้วก็ให้เกิดการตั้งคำถาม
             กับความชอบธรรม ท้ายที่สุด สถาบันทางการเมืองเหล่านั้นก็จะถูกตั้งคำถามเรื่องความชอบ

             ธรรมของตัวเองและเกิดการปรับตัว จนเกิดการปรับตัวโดยสถาบันทางการเมืองเหล่านั้นฟัง
             เสียงของ (ประชาชน) และมาตั้งคำถามกับความชอบธรรมในการทำงานของตนเอง”
                                                                                      6

             แล้วจะหาทางออกเพื่อสร้างความชอบธรรมให้สถาบันทางการเมือง

             ภายใต้ภาวะความผันผวนนี้อย่างไร ?

                   เมื่อกำหนดเป้าหมายแล้วว่านิยามของ “ความชอบธรรม” ของสถาบันทางการเมือง

             อาจจะต้องเปลี่ยนไป คำถามสำคัญที่จะต้องพิจารณาต่อก็คือในภาวะความผันผวนนี้
             จะมีกระบวนการใดบ้างเพื่อหาทางออกจากความผันผวนนี้ที่มีความเห็นต่างเต็มไปหมดและ
             นำไปสู่เป้าหมายในการกำหนดความชอบธรรมของสถาบันทางการเมืองใหม่ ก่อนอื่น วรรณภา
             ติระสังขะ ได้เน้นย้ำอีกครั้งว่า ความชอบธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อให้รัฐได้ใช้อำนาจ

             รัฐในการปกครอง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของความชอบธรรมคือจะต้องเป็นความชอบธรรมที่มี
             เหตุผล มีตรรกะ และมีความสมเหตุสมผลเพื่อสนับสนุนหลักการนั้น โดยจะต้องเป็นสิ่งที่คน
             ในสังคมเลือกด้วย กล่าวคือ จะต้องเป็นความชอบธรรมที่คนในสังคมเห็นพ้องต้องกันว่ามีอยู่
             หรือต่อให้ไม่เห็นเหมือนกัน ก็ต้องนำไปสู่กระบวนการที่หาฉันทามติให้ได้ และสถาบันทางการเมือง

             ก็อยู่ได้ด้วยการใช้อำนาจให้สมเหตุสมผล ดังนั้น การค้นหาความชอบธรรมจะต้องดึงทุกฝ่าย
             ทุกภาคส่วนเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการหรืออย่างน้อยที่สุด ก็ต้องให้ประชาชนทุกภาคส่วน
             มีส่วนในการร่วมกำหนดนโยบายภาครัฐ และสร้างกระบวนการที่เรียกว่า “multi stakeholder
             governance” ขึ้นให้ได้ เพื่อให้เกิดการใช้อำนาจรัฐที่ได้รับการยอมรับจากคนในสังคม


                   นอกจากนี้ คำนูณ สิทธิสมาน ได้ให้หลักสำคัญคือ ไม่ว่าจะแก้ปัญหาด้วยกระบวนการ
             ใดนั้น จะต้อง “ไม่เหมา ไม่บีบ ไม่ไล่” โดย “ไม่เหมา” หมายถึง จะต้องปฏิเสธแนวทางสุดขั้ว
             จากทั้งสองฝ่าย เพราะในความสุดขั้วของทั้งสองฝ่ายนั้น ยังมีบางคนที่ “อยู่ตรงกลาง” หรือก็คือ
             ไม่ได้เห็นด้วยกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทั้งหมด แต่ถูกตีตราหรือจัดให้อยู่ในขั้วใดขั้วหนึ่ง

             จึงต้องเริ่มจากการเลิกเหมารวมหรือตีตราว่าใครเป็นฝ่ายใครเสียก่อน ส่วน “ไม่บีบ” หมายถึง
             เราจะต้องปฏิเสธความรุนแรงทุกรูปแบบ และต้องรับฟัง อย่าทำอะไรที่บีบให้ฝ่ายที่เห็นต่างไม่มี
             ทางออกอะไรเลยจนเหลือแค่เพียงต้องใช้ความรุนแรง และ “ไม่ไล่” หมายถึง ขอให้ทุกฝ่าย

             มีเมตตาต่อกัน อย่ามีพฤติกรรมที่เรียกว่าไม่พอใจอะไร หรือไม่เห็นด้วยกับอะไรก็ด่าไว้ก่อน
             อย่าแสดงออกในลักษณะที่ว่าคนที่คิดต่างไม่สมควรอยู่ หรือคิดต่างแล้วก็ควรออกจากตำแหน่งไป
             เป็นต้น                                                                                   สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 2


                 6   ความในวงเล็บเติมโดยผู้เรียบเรียง
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186