Page 177 - kpiebook65043
P. 177

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  1
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


             เกิดคำถามเรื่องการถูกนายทุนครอบงำตามมาอีก และนอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดให้ต้องตั้ง
             สาขาพรรคการเมืองทุกภาค และจะต้องมีสมาชิกพรรคอยู่ในทุกจังหวัด ถ้าหากไม่มีสมาชิก
             ในจังหวัดใด ก็จะไม่สามารถส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตจังหวัดนั้นได้ ซึ่งก็จะทำให้พรรคที่ตั้งขึ้น
             เพื่อตอบโจทย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางพื้นที่ไม่สามารถตั้งพรรคได้เลย  เป็นต้น
                                                                                   3

             ความผันผวนที่ทำให้บริบทสังคมและการเมืองเปลี่ยนไป...

             สู่การใช้อำนาจรัฐในสถาบันทางการเมืองที่ต้องเปลี่ยนแปลง


                   ความผันผวนทางสังคมและบริบทของภูมิทัศน์ประชาธิปไตยที่เปลี่ยนแปลงไป
             ทำให้การมองสถาบันทางการเมืองแต่เพียงรูปแบบอย่างที่เคยมอง เช่น มองถึงโครงสร้าง
             การกำหนดกติกาที่ใช้อำนาจ บรรทัดฐานต่าง ๆ ฯลฯ นั้น ไม่สามารถเป็นไปได้อีกต่อไป

             โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณภา ติระสังขะ ได้เสนอว่าในบริบทปัจจุบัน เราจำเป็นจะต้อง
             มองสถาบันทางการเมืองในฐานะที่เป็นสถาบันที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคนในสังคมเข้าไว้
             ด้วยกัน หรือกล่าวให้ชัดเจนก็คือ เราไม่สามารถมองสถาบันทางการเมืองในฐานะที่เป็นเพียง
             สถาบันและแยกส่วนออกจากสังคมได้อีกต่อไป เนื่องจากประชาชนอยู่ใต้สถาบันทางการเมือง

             และมีกิจกรรมทางการเมืองทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการอยู่กับสถาบันทางการเมือง
             มากมาย ที่ผ่านมาสถาบันทางการเมืองอาจถูกมองเพียงในมุมของโครงสร้าง และกติกา
             ที่กำหนดการใช้อำนาจในสถาบันทางการเมืองนั้น แต่อาจจะลืมมองสถาบันทางการเมือง
             ในมุมที่มีการเชื่อมโยงกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ดังนั้น การมองสถาบัน

             ทางการเมืองในปัจจุบันจึงไม่สามารถมองเพียงโครงสร้างและกติกาได้ แต่จะต้องมองให้ลึกถึง
             ผู้ใช้อำนาจทางการเมือง และการเข้าสู่อำนาจของผู้ใช้อำนาจทางการเมือง

                   แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ไม่ว่าจะมองว่าสถาบันทางการเมืองเชื่อมโยงกับประชาชนและ

             ผู้คนในสังคมมากมายแค่ไหนก็ตาม สถาบันทางการเมืองจะต้องดำรงความ “เข้มแข็ง” ไว้ให้ได้
             ซึ่งสิ่งที่แสดงออกถึงความเข้มแข็งของสถาบันทางการเมืองได้ดีที่สุดก็คือ “ความเป็นอิสระ”
             ในตัวของสถาบันทางการเมืองเอง โดยวรรณภาได้อธิบายว่า ความเป็นอิสระของสถาบัน
             ทางการเมืองนั้น หมายถึงการมีอำนาจในการตัดสินใจ และสามารถปรับตัวเพื่อรับมือกับ
             ความผันผวนของสังคมนี้ได้ ทั้งนี้ ในเมื่อสถาบันทางการเมืองต้องอยู่ท่ามกลางสภาวะที่ผันผวน

             นั่นย่อมทำให้ต้องเกิดการปรับตัวมากมายเพื่อให้สถาบันทางการเมืองนั้นดำรงอยู่ให้ได้ และ
             สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไปและทำให้สถาบันทางการเมืองจะต้องปรับตัวก็คือ
             “ความชอบธรรม”

                   วรรณภาได้นำเสนอให้เห็นว่าทัศนคติและความเชื่อของคนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

             ส่งผลให้การนิยามความชอบธรรมนั้นเปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยที่แต่ก่อนนั้น เราอาจมอง              สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
             ความชอบธรรมเพียงแค่ความชอบธรรมตามตัวบทกฎหมาย หรือก็คือ กระบวนการที่กำหนด


                 3   พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 33(2)
   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182