Page 179 - kpiebook65043
P. 179
สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23 1 9
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
การถามความเห็น หรือการรับฟังประชาชน หรืออาจจะเป็นการพยายามสื่อสารกับประชาชน
ในกรณีที่ไม่สามารถตัดสินใจในสิ่งที่ประชาชนให้ความเห็นมาได้
ทั้งนี้ ยิ่งชีพเห็นว่าท่ามกลางสภาวะความผันผวนทางการเมืองและสังคมที่เกิดขึ้น
เมื่อองค์กรหลาย ๆ องค์กรมีที่มาที่ถูกตั้งคำถามเรื่องความเป็นอิสระ เช่น องค์กรอิสระที่ทำ
หน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หรือองค์กรตุลาการที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจในการตรวจสอบ
ฝ่ายการเมืองมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ยิ่งต้องพิสูจน์ตนเองในเรื่ององค์ประกอบด้านเนื้อหา หรือกล่าว
อีกนัยหนึ่งก็คือ จะต้องพิสูจน์ตนเองในเรื่องของการทำหน้าที่ให้เป็นกลาง และถูกต้องตาม
หลักกฎหมาย ถ้าหากสถาบันทางการเมืองเหล่านี้สามารถพิสูจน์ตนเองในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่
ได้ท่ามกลางความผันผวนทางการเมืองนี้ ก็จะได้รับการยอมรับตามสมควรและทุกฝ่าย
ก็อาจอยู่ร่วมกันได้ แต่ถ้าหากไม่สามารถพิสูจน์ตนเองได้ ก็อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งและ
ความรุนแรงได้
เมื่อมองความชอบธรรมว่าประกอบด้วยสององค์ประกอบแล้ว อีกประเด็นที่ต้อง
พิจารณาก็คือว่า อะไรเป็นสิ่งที่กำหนดความชอบธรรม ?
ในประเด็นนี้ วรรณภา ติระสังขะ ได้นำเสนอว่า “เสียงของประชาชน” จะเป็นเสียงที่
กำหนดว่าอะไรเป็นสิ่งที่มีความชอบธรรม และการใช้เสียงประชาชนกำหนดความชอบธรรมนี้
ไม่ใช่การกำหนดความชอบธรรมตามอำเภอใจของประชาชนแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็น
การกำหนดความชอบธรรมตามเหตุและผล และตามคุณค่าความเชื่อของสังคมนั้น ๆ
ซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย
ทั้งนี้ การกำหนดความชอบธรรมอย่างนี้อาจทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาที่ว่าแต่ละคน
กำหนดเรื่องความชอบธรรมแตกต่างกัน และอาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งในบางโอกาส
แต่วรรณภาเชื่อว่าความขัดแย้งนี้จะขัดเกลาคนในสังคมให้นำไปสู่ฉันทามติหรือนำไปสู่
ความชอบธรรมที่คนในสังคมเห็นพ้องต้องกันในที่สุด ซึ่งระหว่างทางที่เกิดความขัดแย้ง
โดยอาจเกิดจากยุคสมัยที่ต่างกัน หรือความเห็นที่ต่างกัน และความขัดแย้งนั้นอาจก่อให้เกิด
ความเจ็บปวดหรือการใช้ความรุนแรง แต่ก็อาจนำไปสู่การเรียนรู้ร่วมกันได้ ที่สำคัญ วรรณภา
ได้เน้นย้ำว่า
“การปะทะสังสรรค์แบบนี้ (การปะทะกันของการให้ความหมายความชอบธรรม
ที่แตกต่างกัน) ก็ก่อให้เกิดคุณค่าในแง่บวกมากกว่าแง่ลบ ท้ายที่สุดแล้วคนในสังคมจะเลือก
หยิบยกเหตุผลคุณค่าความเชื่อมั่นว่าสิ่งนี้เราเห็นด้วย สิ่งนี้ไม่เห็นด้วย หรือสิ่งนี้ไม่มีความชอบธรรม
ทางการเมืองอีกต่อไป หรือสิ่งไหนที่เราไม่ศรัทธาหรือไม่เห็นพ้องต้องกันอีกต่อไป ...
กระบวนการเหล่านี้เป็นสิ่งที่เป็นปกติของเสรีนิยมประชาธิปไตยที่การกำหนดความชอบธรรม
ทางการเมืองจะถูกถ่ายโอนไปสู่ประชาชนอย่างปฏิเสธไม่ได้...” สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
5
5 ความในวงเล็บเติมโดยผู้เรียบเรียง