Page 175 - kpiebook65043
P. 175
สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23 1 5
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เรียกว่า “ความผันผวนทางสังคม” และสิ่งที่จะต้องยอมรับต่อมาก็คือ
ความผันผวนของสังคมนี้ยังไม่จบ เนื่องจากมีทั้งส่วนที่เป็นความผันผวนรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้น
เช่น รูปแบบใหม่ในการรวมพลังเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมือง และมีทั้งความผันผวนที่เกิดจาก
ยังไม่สามารถก้าวผ่านปัญหาเดิมได้ เช่น ในช่วง พ.ศ. 2548 - 2549 อาจมีการพูดว่าต้องการ
ให้ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่ง แต่ก็จะมีบางกลุ่มที่ต้องการให้ทักษิณ
ชินวัตร ยังดำรงตำแหน่งต่อ และข้อถกเถียงนี้ ตลอดจนความพยายามในการแก้กฎหรือกติกา
หลายครั้งก็จะแสดงให้เห็นว่าทักษิณ ชินวัตร ยังอยู่ในโจทย์นี้เสมอ
สองขั้วอุดมการณ์ทางการเมือง สู่ความชอบธรรมที่แตกต่าง
บนประชาธิปไตยเดียวกัน
จากความเปลี่ยนแปลงในบริบททางการเมือง และการเข้ามาของสื่อโซเชียลที่เปรียบเสมือน
ตัวเร่งปฏิกิริยา คำนูณได้สรุปว่าสองสิ่งที่ทำให้ขั้วทางการเมืองทั้งสองขั้วเกิดการให้ความหมาย
ต่อคำว่า “ความชอบธรรม” ที่แตกต่างกัน โดยฝ่ายหนึ่งมองว่าการมีจุดยึดโยงกับประชาชนคือ
ความชอบธรรม ฝ่ายนี้จึงต่อต้านการเกิดรัฐประหาร และการเข้าสู่อำนาจของรัฐบาลทหาร
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ฝ่ายนี้มองว่าระบอบเผด็จการนั้นไม่ชอบธรรม ส่วนอีกฝ่ายนั้น
จะกล่าวว่าไม่ชอบระบอบประชาธิปไตยก็ไม่ได้เสียทีเดียว หากแต่เห็นว่าไม่ควรให้การเลือกตั้ง
มาเป็นสิ่งที่ชี้ขาดทุกอย่างในสังคม หรือก็คือ ปล่อยให้เสียงข้างมากตัดสินใจขาดในทุกอย่าง
นั่นเอง เพราะเกรงว่าถ้าปล่อยให้การเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ชี้ขาดทุกอย่างในสังคม หรือปล่อยให้
เสียงข้างมากเป็นเครื่องมือในการกำหนดผลการตัดสินใจทุกอย่าง ก็อาจทำให้เกิดปรากฏการณ์
ที่ระบบอุปถัมภ์นำโครงสร้างของประชาธิปไตยมาครอบทับ
ทั้งนี้ ปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ในทางการเมืองไทยที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็น
การเกิดขึ้นของข้อเรียกร้องของกลุ่มพลังคนรุ่นใหม่หลาย ๆ กลุ่ม หรือความเห็นต่าง
ต่อการมีอยู่ของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ)
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากพื้นฐานสำคัญ คือ การยึดถือ “ความชอบธรรม” ที่ไม่เหมือนกัน
และถ้าหากพูดถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันที่จะทำให้เห็นภาพความเห็นต่างที่เกิดจากการยึดถือ
ความชอบธรรมที่ต่างกัน ก็คือ การถกเถียงกันเรื่องความชอบธรรมของประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 112 และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่) โดยคำนูณได้
กล่าวเน้นถึงประเด็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ว่าการเสนอขอให้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่และกลุ่มพลัง
คนรุ่นใหม่ก็ได้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่ามีชุดความคิดที่ต่างกันอย่างน้อยสองขั้ว และ
ในฐานะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การเสนอขอร่าง
รัฐธรรมนูญใหม่เช่นนั้นก็เป็นที่คาดหมายได้อยู่แล้วว่าอาจจะไม่ได้รับการให้ความเห็นชอบ
จากรัฐสภา แต่อย่างน้อยที่สุด คนกลุ่มนี้ก็ได้ปักหมุดและจุดยืนทางความคิดและความเชื่อ สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
ไว้ในสังคมไทยแล้ว