Page 170 - kpiebook65043
P. 170

1 0  สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
                                                                                                                           สรุปการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23 ประจำปี 2564
                                                                                                                               rd
                                                                                                                            23  Annual King Prajadhipok’s Institute (KPI) Congress 2021
           และระบอบอื่น ๆ และได้มีการพูดถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพรรคการเมืองและการปรับตัวของ
           พรรคการเมือง

                 สำหรับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพรรคการเมืองในปัจจุบัน ได้แก่ หนึ่ง เรื่องของ
           เทคโนโลยีดิจิทัลที่เจริญก้าวหน้าในปัจจุบัน ได้ส่งผลให้พรรคการเมืองหลายพรรคต้องหยิบเอา
           สื่อดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการหาเสียงของตนเอง แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกพรรคการเมืองจะได้รับ

           ผลกระทบจากเทคโนโลยีดังกล่าวเท่ากัน เนื่องจากแต่ละพรรคการเมืองอาจหยิบสื่อดิจิทัล
           มาใช้ในรูปแบบที่ต่างกันตามความถนัด นอกจากนี้ สื่อดิจิทัลยังทำให้เกิดการสร้างพื้นที่ใหม่ของ
           พรรคการเมือง ซึ่งไม่ใช่พื้นที่ทางภูมิศาสตร์อีกต่อไป แต่เป็นพื้นที่ทางความคิด และสอง
           มีการพูดถึงเรื่องคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีส่วนสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงและ

           ปัจจุบันเมื่อคนรุ่นใหม่หันมาสนใจการเมืองเนื่องจากข้อมูลในสื่อโซเชียลมากยิ่งขึ้น ก็ยิ่งทำให้
           คนรุ่นใหม่เริ่มเข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น สาม เรื่องของการตลาดกับพรรคการเมือง
           ส่งผลให้เกิดการสื่อสารทางการเมืองในรูปแบบใหม่ ๆ มาการใช้กลยุทธ์ทางการตลาด
           ในการหาเสียงของพรรคการเมืองมากยิ่งขึ้น และเมื่อรวมกับความเจริญก้าวหน้าของสื่อดิจิทัลแล้ว

           ก็จะยิ่งทำให้การหาเสียงของพรรคการเมือง หรือการสื่อสารของพรรคการเมืองมีความแตกต่าง
           จากเดิมพอสมควร และสี่ ปัจจัยสุดท้ายที่มีอิทธิพลต่อพรรคการเมือง คือ การระดมพลัง
           ในรูปแบบของประชานิยม ซึ่งอาศัยกลุ่มคนที่มีความเห็นร่วมกันหรือมีความรู้สึกร่วมกัน ทำให้
           นโยบายบางอย่างถูกผลักดันภายใต้พื้นฐานของความรู้สึกและความนิยมในตัวของบุคคลบางคน


                 สิ่งที่เกิดขึ้นได้ท้าทายต่อโครงสร้างพรรคการเมืองแบบเดิม เช่น ฐานสนับสนุนของ
           พรรคการเมืองที่เปลี่ยนไป จากเดิมที่จะมีการรวมกลุ่มกันแล้วสนับสนุนพรรคการเมือง
           ที่มีอุดมการณ์เหมือนตน ก็กลายเป็นการนิยมในตัวบุคคลแทน หรืออย่างการมีส่วนร่วม

           นอกสถาบันทางการเมืองที่เพิ่มมากขึ้น ตลอดจนการมีสื่อดิจิทัลที่เปิดพื้นที่ใหม่ให้
           พรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการใช้สื่อดิจิทัลในการรับฟังความเห็นของประชาชน หรือสื่อสาร
           กับประชาชนเพื่อให้ประชาชนร่วมตัดสินใจในบางเรื่อง ตลอดจนการใช้สื่อหาเสียงออนไลน์
           แต่ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายในเรื่องของข่าวปลอม และการแทรกแซงจากผู้ไม่หวังดี ดังนั้น
           พรรคการเมืองจึงไม่สามารถจัดการหรือใช้ทรัพยากรแบบเดิมได้ และพรรคการเมืองจะต้อง

           ปรับตัว โดยใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เกิดขึ้นและหาช่องทางในการปฏิสัมพันธ์กับประชาชนให้ได้
           มากที่สุด และถ้าหากพรรคการเมืองได้ใช้ประโยชน์จากภูมิทัศน์ใหม่ทางการเมืองก็จะสามารถ
           กลายเป็นพรรคการเมืองที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากขึ้น และทำให้
    สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
           ประชาชนกลับมาไว้ใจพรรคการเมืองได้อีกครั้ง
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175