Page 166 - kpiebook65043
P. 166
166 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
ในการประชาสัมพันธ์การหาเสียงลักษณะดังกล่าว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ใช่ว่าเมื่อมี
สื่อดิจิทัลแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวไปทุกด้านหรือเปลี่ยนวิธีการไปทั้งหมด
๏ ภาคประชาสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป กับผู้นำยุคใหม่ที่เริ่มมีบทบาท
ชนินทรได้แสดงให้เห็นว่า การเกิดขึ้นของสื่อดิจิทัล ตลอดจนวิกฤตโรคระบาด
ที่ผ่านมาทำให้การรวมตัวของฝูงชนได้เปลี่ยนรูปแบบไป เพราะการรวมตัวกันผ่านสื่อดิจิทัล
ได้ทำให้การรวมตัวมีลักษณะกว้างขวางมากยิ่งขึ้น และทำให้มีกลุ่มคนที่มีส่วนร่วมทางการเมือง
มากยิ่งขึ้น ที่สำคัญการรวมตัวของฝูงชนผ่านสื่อโซเชียลเหล่านี้มักจะเป็นการรวมกันของ
กลุ่มคนที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีการใช้สื่อดิจิทัลอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้การเลือกผู้นำยุคใหม่
จะต้องเป็นผู้นำที่มีความคิดเหมือนกลุ่มเด็กสมัยใหม่หรือเป็นคนรุ่นใหม่ จนเป็นที่เห็นได้
ค่อนข้างชัดเจนว่าในหลายประเทศนั้น ขั้วอำนาจทางการเมืองอาจเปลี่ยนไปจากผู้นำที่มี
ความเป็นอนุรักษ์นิยม กลายเป็นผู้นำที่มีความคิดแนวเสรีประชาธิปไตยหรือเป็นผู้นำที่มี
ความคิด ทัศนคติ ตลอดจนสามารถเข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้มากยิ่งขึ้น
การเกิดขึ้นของพรรคการเมืองแบบประชานิยม :
ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว...แต่ต้องปรับตัวและทำความเข้าใจ
ดังที่สติธรได้กล่าวไปแล้วตอนต้นถึงเรื่องการระดมพลังมวลชนซึ่งทำให้เห็นได้ว่าปัจจุบัน
ได้เกิดรูปแบบการระดมพลังแบบ “ประชานิยม” ขึ้น ซึ่ง นิธิ เนื่องจำนงค์ ก็ได้ชี้ให้เห็นว่า
จริง ๆ แล้วกรณีที่พรรคการเมืองหลายพรรคมีรูปแบบเป็นประชานิยมนั้น ถือเป็นเรื่องปกติ
และประชานิยมก็มีหลายรูปแบบ ไม่ใช่ว่าประชานิยมนั้นจะมีแต่แบบ “ซ้าย” อย่างเดียว
และประชานิยมนี้ก็อาจเปลี่ยนข้างได้ เช่น ในกรณีของประเทศลาตินอเมริกา (อเมริกาใต้)
ก็มักจะมีกรณีที่พรรคการเมืองแบบประชานิยมเปลี่ยนจากซ้ายไปขวาอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้น
การกล่าวโดยรวม ๆ ว่าพรรคการเมืองประชานิยมหนึ่ง ๆ มีเฉดสีแบบใด หรือมีอุดมการณ์
แบบใด ก็ไม่สามารถทำได้
นอกจากนี้ นิธิยังได้สะท้อนภาพให้เห็นอย่างชัดเจนอีกว่า แต่เดิมอาจจะมองว่าประชานิยม
เป็นชายขอบของประชาธิปไตย แต่ปัจจุบันก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป เนื่องจากใน
หลายภูมิภาค ประชานิยมได้กลายเป็นกระแสหลักในลาตินอเมริกาและในทวีปยุโรป ดังนั้น
ประชานิยม จึงกลายเป็น “ขาประจำ” และเป็นเรื่องที่เกิดการลงหลักปักฐานในเชิงสถาบันของ
สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 1 ประเทศไทยเองที่เริ่มเห็นพรรคการเมืองที่มีแนวทางแบบประชานิยม และปล่อยให้เกิดการแข่งขัน
พรรคการเมือง และกลายเป็นเรื่องหลักในการแข่งขันทางการเมืองในยุโรป ดังนั้น ถ้าหาก
แบบประชาธิปไตยเดินต่อไป ประชานิยมเองก็จะกลายเป็นเรื่องปกติของการเมืองไทย
ส่วนจะได้มีบทบาทในการจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายและการหาเสียงเช่นเดียว
กับพรรคอื่น ๆ ในระบอบประชาธิปไตย