Page 165 - kpiebook65043
P. 165

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  165
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


                     ยิ่งกว่านั้น Aim ยังได้ศึกษาและสรุปประเด็นพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้สื่อโซเชียล
             เพื่อหาเสียงด้วย โดยสามารถสรุปได้ว่า เมื่อพิจารณาจากความเชื่อมโยงระหว่างสื่อโซเชียล
             กับการหาเสียงแล้ว สามารถแบ่งนักการเมืองที่ประสบความสำเร็จในการหาเสียงได้ 3 ประเภท
             ดังนี้


                     1) นักการเมืองที่ใช้โซเชียลมีเดียในการหาเสียง (Social Media Activist) ซึ่งมักจะ
             เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งที่อยู่ในเมืองโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ ๆ ของต่างจังหวัด
             เนื่องจากการหาเสียงในพื้นที่เหล่านี้มักจะมีอุปสรรคในการเข้าถึงประชาชนเนื่องจากมี
             ประชาชนจำนวนมากในเมือง แต่ที่สำคัญนักการเมืองที่ใช้สื่อโซเชียลในการหาเสียงนี้มักจะ

             เป็นคนที่มีกิจกรรมในสื่อโซเชียลอยู่แล้ว และกลุ่มผู้สมัครรับเลือกตั้งกลุ่มนี้จะต้องสามารถ
             เข้าถึงคนให้ได้มากที่สุดในระยะเวลาที่น้อยที่สุด ดังนั้น ถ้าหากไม่ใช่พรรคที่มีเครือข่ายมาก
             อยู่แล้ว ก็จำเป็นต้องใช้สื่อโซเชียลเพื่อให้เข้าถึงประชาชนและสร้างฐานเสียงให้ได้มากที่สุด


                     2) นักการเมืองที่ใช้สื่อโซเชียลบ้าง แต่ไม่ได้ใช้เยอะ (Social Media Selectivist)
             โดยกลุ่มนี้จะมีการเลือกว่าใช้โซเชียลมีเดียทำกิจกรรมเฉพาะในเขตที่ไม่สามารถเข้าถึงได้หรือ
             ก็คือเดินไปไม่ถึง หรือเป็นเขตที่ผู้สมัครคนนั้นไม่ได้มีเครือข่ายอยู่ และในบางพื้นที่หรือ
             บางกิจกรรม ก็จะใช้วิธีไปพบปะเพื่อหาเสียง


                     3) นักการเมืองที่ไม่ใช้สื่อโซเชียลเลย ซึ่งสิ่งที่ทำให้น่าประหลาดใจในการศึกษา
             คือ มีผู้สมัครรับเลือกตั้งจากพรรคอนาคตใหม่บางคนเลือกที่จะไม่ใช้สื่อโซเชียลเลย โดยในบาง
             พื้นที่ผู้สมัครอาจพบว่าถ้าหากใช้สื่อโซเชียลแล้วอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากส่วนใหญ่
             สื่อโซเชียลเองจะเข้าถึงเฉพาะกลุ่มที่จะเลือกหรือมีแนวโน้มจะเลือกพรรคนั้น ๆ อยู่แล้วเท่านั้น

             แต่การทำกิจกรรมอย่างอื่นซึ่งอาจทำให้เกิดการพบปะต่อหน้าอาจจะทำให้เกิดการสร้างเครือข่าย
             ได้ดีกว่าการใช้สื่อโซเชียล

                     ดังนั้น ท้ายที่สุดนี้ Aim ได้สรุปจากผลการศึกษาว่า การใช้สื่อโซเชียลนั้นถือว่า

             เป็นสิ่งที่ค่อย ๆ มีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการหาเสียง แต่การใช้สื่อโซเชียลให้ประสบความสำเร็จ
             จะต้องอาศัย หนึ่ง ความสามารถของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเอง รวมถึงทรัพยากรของพรรคด้วย
             นั่นคือ จะต้องรู้จักการสร้างเนื้อหาให้คนเข้ามามีส่วนร่วม หรือสร้างเนื้อหาให้ปรากฏอย่าง
             สม่ำเสมอ และสอง การใช้สื่อโซเชียลที่ดี ก็ต้องขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่หาเสียงด้วย ว่าประชาชน
             ในพื้นที่นั้นมีการเข้าถึงสื่อโซเชียลรูปแบบใด มากน้อยเพียงใด


                     อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสื่อดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทต่อการหาเสียงหรือการสร้าง
             ความนิยมให้แก่พรรคการเมืองเป็นจำนวนมากก็ตาม แต่ชนินทรก็ได้แสดงให้เห็นถึง
             ความย้อนแย้ง (Paradox) ว่าท่ามกลางการใช้สื่อดิจิทัลสมัยใหม่นี้ ลักษณะของพรรคการเมือง
             ก็ยังคงเป็นพรรคการเมืองแบบเก่า คือ ยังคงมีการขึ้นเวทีเพื่อปราศรัยหาเสียง และยังคง         สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 1

             ถือการหาเสียงในรูปแบบนี้เป็นการหาเสียงหลัก และอาจมีการใช้สื่อโซเชียล
   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170