Page 167 - kpiebook65043
P. 167

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  16
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


                   ที่สำคัญ นิธิยังได้แสดงให้เห็นถึงข้อสังเกตที่สำคัญอีกสองประการ คือ หนึ่ง ประชานิยม
             มีลักษณะเป็นพลวัตดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น โดยอาจเริ่มจากการมีผู้นำที่มี “บารมี” หรือ
             อาจจะเริ่มจากกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมก็ได้ ก่อนที่เปลี่ยนเป็นพรรคการเมืองและ
             มีการลงหลักปักฐานในการแข่งขันทางการเมือง และอุดมการณ์ของประชานิยมเองก็ไม่ได้

             หยุดนิ่ง สอง ตัวแสดงทางการเมืองบางตัวก็อาจเริ่มจากมีความเป็นประชานิยมก่อนที่จะเกิด
             การเปลี่ยนจุดยืนตัวเองให้กลายเป็นพรรคการเมืองกระแสหลัก

                   ยิ่งกว่านั้น นิธิยังได้สรุปว่า แท้จริงแล้วการได้รับความนิยมของพรรคการเมืองที่เป็น
             ประชานิยมยังอาจสะท้อนให้เห็นได้อีกว่าพรรคการเมืองที่มีอยู่เดิมอาจจะไม่ได้ตอบสนอง

             ความต้องการของประชาชนได้มากนัก หรือการตอบสนองความต้องการของประชาชน
             ในรูปแบบของพรรคการเมืองที่เป็นประชานิยมอาจจะทำได้ดีกว่า เนื่องจากพรรคการเมืองที่เป็น
             ประชานิยมมักจะหาเสียงแบบ “ยิงตรง” ไปที่ความต้องการของประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย

             ด้วยเหตุนี้ การเกิดขึ้นของพรรคประชานิยมก็จะส่งผลให้พรรคการเมืองเดิมที่ต้องการชนะ
             เลือกตั้งจะต้องปรับตัวไปในทิศทางที่สนองความต้องการของประชาชนได้มากยิ่งขึ้น
             หรืออาจจำเป็นจะต้องพัฒนาปฏิสัมพันธ์กับประชาชนให้มากขึ้น

                   นิธิได้สะท้อนเพิ่มเติมให้เห็นว่าพรรคการเมืองแบบประชานิยมที่มีโอกาสได้รับความนิยม

             สูงกว่าพรรคการเมืองแบบอื่น ๆ อาจส่งผลกระทบต่อพรรคการเมืองอื่น ๆ ในแง่ของทำให้
             พรรคการเมืองเหล่านั้นจะต้องปรับตัว โดยต้องสื่อสารและเชื่อมโยงกับประชาชนให้มากยิ่งขึ้น
             และสุดท้าย นิธิได้กล่าวถึงผลกระทบของประชานิยมว่าจะนำพาสังคมและประเทศไปสู่อะไร
             โดยชี้ให้เห็นในสองกรณี คือ ในกรณีที่ประเทศนั้นเป็นประเทศที่ประชาธิปไตยตั้งมั่นแล้ว

             และยึดกติกาเดียวกันไม่ว่าจะเป็นประชานิยมหรือไม่ประชานิยมก็ตาม การเกิดขึ้นของ
             ประชานิยมก็จะไม่นำไปสู่อะไรก็ตามที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะสุดท้ายทุกฝ่ายจะต้องอยู่
             ภายใต้กติกาการแข่งขันแบบเดียวกัน และจะกลายเป็นเรื่องปกติของการแข่งขันทางการเมือง
             ยิ่งกว่านั้น ในหลายประเทศ เช่น ในยุโรปประชานิยมกลับทำให้เกิดประชาธิปไตยรูปแบบใหม่

             ซึ่งมาเสริมกับประชาธิปไตยที่มีอยู่เดิม และก็อาจทำให้เกิดแนวคิดหรือวิธีการใหม่ ๆ เช่น
             Participatory Democracy ดังนั้น นิธิได้สรุปว่า ในประเทศที่ประชาธิปไตยตั้งมั่นแล้ว
             ประชานิยมจะไม่พาไปสู่อะไร นอกจากการยกระดับปรับเปลี่ยนคุณภาพของประชาธิปไตย
             หรือทำให้พรรคการเมืองต้องปรับตัว


                   อย่างไรก็ตาม ในกรณีของประเทศที่ประชาธิปไตยยังไม่ตั้งมั่นนั้น หรือกรณีที่เป็น
             ประเทศที่ประชาธิปไตยเพิ่งเกิดใหม่ สิ่งที่มาจากการเกิดขึ้นของประชานิยมมักจะสร้าง
             ความหวาดหวั่นให้แก่กลุ่มชนชั้นนำที่มีอำนาจอยู่เดิม และอาจเกิดการใช้วิธีการนอกเหนือจาก
             กติกาแบบประชาธิปไตยเพื่อโค่นล้มประชานิยม อย่างเช่นในหลายกรณีที่เกิดขึ้นในลาตินอเมริกา

             หรือกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งสุดท้าย แม้ว่าจะโค่นล้มประชานิยมได้ก็ตาม แต่ก็จะ  สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
             เกิดการรวมตัวของฝั่งประชาชนที่สนับสนุนพรรคการเมืองประชานิยมและไม่พอใจกับ
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172