Page 163 - kpiebook65043
P. 163

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  163
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


             มาผ่านระบบดิจิทัลหรือใช้สื่อดิจิทัลเป็นเครื่องมือ เช่น กรณีพรรค Podemos ของประเทศ
             สเปน และพรรค Five Stars Movement (M5s) ของประเทศอิตาลี โดยทั้งสองพรรคนี้ได้ใช้
             วิธีเปิดพื้นที่ออนไลน์และให้บุคคลที่สนใจซึ่งเป็นใครก็ได้ (ไม่ต้องเป็นสมาชิกพรรคก็ได้)
             ได้เข้าไปลงทะเบียนและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของพรรคการเมือง


                     อย่างไรก็ตาม ทั้งนิธิและชนินทร เพ็ญสูตร ได้แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าการใช้สื่อ
             ออนไลน์จะกลายเป็นรูปแบบที่มีความสำคัญและมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการหาเสียงเลือกตั้ง
             ก็จริง แต่การใช้สื่อออนไลน์ในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองก็มีข้อควรระวังโดยเฉพาะ
             อย่างยิ่งประเด็นเกี่ยวกับความมั่นคงทางไซเบอร์ (Cyber security) ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน

             ในการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา ใน ค.ศ. 2016 โดยมีการสร้างบัญชี (account) ปลอมเพื่อ
             สนับสนุน Donald Trump หรืออาจจะมีการใช้สื่อเพื่อสร้างข่าวปลอม (Fake News)
             ในลักษณะที่ทำให้เกิดการครอบงำหรือการจูงใจในทางที่ผิด นอกจากนี้ ยังอาจเกิดการใช้

             สื่อดิจิทัลครอบงำความคิดได้อย่างการใช้อัลกอริทึม เป็นต้น

                     นอกจากนี้ Aim Sinpeng ยังได้ศึกษาวิจัยถึงการใช้สื่อโซเชียลซึ่งถือเป็นผลผลิต
             ของเทคโนโลยีดิจิทัลกับพรรคการเมือง โดย Aim ได้กล่าวถึงทฤษฎีการหาเสียงโดยใช้
             สื่อโซเชียลว่ามีข้อน่าสังเกตที่น่าสนใจ 3 ประการ คือ


                     1) การหาเสียงผ่านสื่อโซเชียลจะเป็นการหาเสียงที่เน้นการแสดงออกของตนเอง
             และเชิญชวนให้บุคคลมาร่วมกิจกรรมกันมาก ๆ ตลอดจนทำให้คนเข้ามามีส่วนร่วม (engage)
             ให้มาก และถ้าหากมีคนมีส่วนร่วมมาก ลำดับของหน้านั้น (Page) ในช่องทางนั้นก็จะยิ่งอยู่ใน
             ลำดับที่สูง


                     2) การหาเสียงผ่านสื่อโซเชียลมักจะเป็นการสื่อสารแบบประชานิยม หรือก็คือ
             การพูดและการใช้ถ้อยคำที่มีการสื่อถึงอารมณ์อย่างชัดเจนเพื่อให้คนอ่านรู้สึกว่าอยากแบ่งปัน
             (share) เนื้อหานั้น ๆ ไม่ว่าคนที่เลือกกดแบ่งปันเนื้อหานั้นจะแบ่งปันเพราะชอบ หรือไม่ชอบ

             เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย กับเนื้อหานั้นก็ตาม

                     3) การใช้สื่อดิจิทัลของทุกประเทศย่อมเกิดความไม่เสมอภาคกันเป็นธรรมดา
             (Digital Inequality) ด้วยเหตุนี้ แต่ละประเทศจึงมีกลุ่มคนที่ใช้สื่อโซเชียลแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน
             เช่นบางประเทศอาจจะชอบ Facebook หรือบางประเทศอาจจะนิยม Tik Tok เป็นต้น ดังนั้น

             การหาเสียงผ่านสื่อโซเชียลของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ก็อาจจะต้องดูด้วยว่ากลุ่มเป้าหมายหลัก
             ที่ต้องการส่งสารเพื่อหาเสียงเป็นใคร และใช้สื่อโซเชียลอะไร เป็นต้น

                     ทั้งนี้ Aim ได้ทำการศึกษาการใช้สื่อโซเชียลเพื่อหาเสียงในประเทศไทยช่วงการเลือกตั้ง
             พ.ศ. 2562 โดยจากการศึกษาในภาพรวมของการใช้สื่อโซเชียล พบว่าพรรคที่มีการถ่ายทอดสด           สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 1

             ผ่านเฟซบุ๊ค (Facebook live) คือ พรรคอนาคตใหม่ ส่วนพรรคที่มีคนติดตาม (follow)
             และมีส่วนร่วมสูงมาก ๆ ก็คือ พรรคเพื่อไทย นอกจากนี้ Aim ยังได้สนใจศึกษากรณีของ
   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168