Page 161 - kpiebook65043
P. 161

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  161
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


             ทางการเมืองว่ามีรูปแบบใด มีการระดมพลอย่างไร องค์ประกอบของมวลชนที่ชุมนุมมีอย่างไรบ้าง
             มีการเกิดขึ้นและสิ้นสุดไปอย่างไร หรือมีลักษณะที่ต่อเนื่องเป็นระยะยาวที่อาจนำไปสู่การขับเคลื่อน
             ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ได้ สอง การระดมพลังมวลชนที่มีลักษณะมุมกลับของ
             การระดมพลังมวลชนที่กล่าวมาข้างต้น คือ การระดมพลังมวลชนจากเบื้องบนลงสู่ฐานราก

             (Top down) เช่น การเริ่มจากรัฐบาลเป็นตัวหลักเพราะอยากได้ความร่วมมือจากประชาชน
             และต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วม รัฐบาลก็อาจใช้วิธีการดังกล่าวโดยเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้
             มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ การระดมพลังในลักษณะนี้จะไม่ได้เกิดจากการเรียกร้อง

             ของประชาชนเพียงอย่างเดียว โดยการระดมพลังมวลชนในลักษณะนี้อาจเรียกอีกชื่อว่า
             Government Mobilization

                   3) การระดมพลังแบบประชานิยม (Populist Mobilization) เป็นการระดมพลัง
             ในรูปแบบที่ไม่สนใจความเป็นกลุ่ม แต่มุ่งไปที่ตัวปัจเจกบุคคลเลย และมักจะเป็นการระดมพลัง

             ที่ใช้เรื่องของความรู้สึก อารมณ์ และความรับรู้ของประชาชนเป็นสำคัญ ประเด็นที่จะมีการนำ
             มาใช้ในการระดมพลังลักษณะนี้จะเป็นประเด็นที่มีลักษณะเป็นการกระชากอารมณ์ เช่น
             การตั้งประเด็นว่า รัฐที่ใช้อำนาจอยู่ในขณะนี้ใช้อำนาจมากเกินไป ทำให้ประชาชนตรวจสอบ
             ไม่ได้ เป็นต้น การระดมพลังในลักษณะนี้ไม่จำเป็นที่ผู้ร่วมจะต้องมีจุดยึดโยงอะไรที่ชัดเจน หรือ
             กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ อาจมีจุดยึดโยงแค่สถานะทางเศรษฐกิจเหมือนกัน หรือมีความเดือดร้อน

             อะไรบางอย่างที่มีเหมือนกัน หรืออาจมีความเห็นที่ต่างกันและมีผลประโยชน์ที่ต่างกันก็ได้
             แต่เมื่อใดที่รู้สึกว่ามีอารมณ์ร่วมหรือมีความรู้สึกร่วมบางอย่างที่เหมือนกัน เช่น จากตัวอย่าง
             ข้างต้น ถ้าหากเกิดความรู้สึกร่วมกันว่ารัฐที่ปกครองอยู่ตอนนี้มีอำนาจล้นเกินและครอบงำ

             ประชาชน ก็สามารถรวมกลุ่มกันได้


             ปรากฏการณ์ในภูมิทัศน์ทางการเมืองใหม่ที่สร้างความท้าทาย
             ให้กับพรรคการเมือง


                   จากการกล่าวถึงการระดมพลังทางการเมืองไปข้างต้น จะเห็นได้ว่าแม้ว่าจะมีการระดม
             พลังทางการเมืองในรูปแบบต่าง ๆ เกิดขึ้น แต่การระดมพลังทางการเมืองในรูปแบบ
             พรรคการเมืองก็ยังถือว่าเป็นการระดมพลังทางการเมืองที่มีความสำคัญอยู่ แต่ปรากฏการณ์

             ปัจจุบันก็ทำให้เกิดเหตุปัจจัยหลายประการที่สร้างความท้าทายต่อพรรคการเมือง โดย
             นิธิ เนื่องจำนงค์ ได้แสดงให้เห็นว่า ถ้าหากพิจารณาสภาพพรรคการเมืองของประเทศที่เป็น
             ประชาธิปไตยทั่วโลกแล้ว จะเห็นว่าพรรคการเมืองในประเทศเหล่านั้นเกือบทั้งหมดได้เผชิญกับ

             ปัญหาอย่างเดียวกัน คือ มีจำนวนสมาชิกพรรคการเมืองลดลง และจำนวนของการลงคะแนน
             เสียงเลือกตั้งโดยภาพรวมก็ลดลงด้วย ที่สำคัญ เมื่อพิจารณาถึงการสนับสนุนพรรคการเมือง
             ก็พบว่าฐานการสนับสนุนพรรคการเมืองที่อาจเคยให้การสนับสนุนเป็นอย่างมากมาก่อน                สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
             แต่ก็พบว่าฐานสนับสนุนเหล่านี้ก็เริ่มให้การสนับสนุนลดลง
   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166