Page 160 - kpiebook65043
P. 160

160  สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


           การระดมพลังทางการเมือง : จากแบบ “คลาสสิค” (Classic)
           สู่การระดมพลังแบบ “ประชานิยม” (Populist)


                 ตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2560)
           ซึ่งทำให้เกิดการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2562 สังคมไทยก็พบกับปรากฏการณ์ใหม่ที่เกี่ยวกับ

           พรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกำหนดนโยบายหาเสียง การใช้สื่อดิจิทัลในการหาเสียง
           และสร้างฐานเสียงภายในเวลาอันรวดเร็ว ตลอดจนการได้เห็นการระดมพลังทางการเมือง
           ในรูปแบบใหม่ สติธร ธนานิธิโชติ จึงเริ่มต้นการประชุมกลุ่มย่อยโดยการอธิบายถึงรูปแบบ

           ของการระดมพลังทางการเมือง 3 แบบหลัก ที่มีการศึกษาในทางรัฐศาสตร์ คือ

                 1) การระดมพลังทางการเมืองแบบดั้งเดิมหรือที่เรียกว่ารูปแบบ “คลาสสิค” ซึ่งก็คือ
           การระดมพลังทางการเมืองด้วยการเลือกตั้ง ทั้งนี้ ในโลกของการปกครองในระบอบ
           ประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตยแบบใดหรือมีการผสมกับระบอบการปกครองอย่างอื่น

           ก็ตาม ก็จะต้องมี “ตัวแทน” ดังนั้น การระดมพลังทางการเมืองโดยผ่านตัวแทนด้วยวิธีการ
           เลือกตั้งจึงปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป โดยการรวมตัวในลักษณะนี้เรียกว่า “พรรคการเมือง”
           ซึ่งเป็นการรวมกันของกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์หรือมีผลประโยชน์บางอย่างตรงกัน เมื่อมารวมกัน
           เป็นสมาชิกและมีการก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นแล้ว ถ้าพรรคการเมืองนั้นได้รับการสนับสนุนจาก

           ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ ก็จะมีสิทธิได้จัดตั้งรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศ และเมื่อได้เป็นรัฐบาล
           ก็จะต้องระดมการสนับสนุนจากประชาชนมาขับเคลื่อนนโยบายให้ประสบความสำเร็จ
           ด้วยเหตุนี้ เมื่อพูดถึงการศึกษาเรื่องการระดมพลังทางการเมืองในสมัยก่อน ก็จะเป็นการมุ่งเน้น
           การศึกษาเรื่องพรรคการเมืองว่าพรรคการเมืองนั้นก่อรูปขึ้นมาได้อย่างไร มาจากกลุ่มพลัง

           แบบไหน หรืออาจเป็นการศึกษาเรื่องการระดมพลังในการเลือกตั้ง ซึ่งเราสามารถกล่าวรวม ๆ
           ได้ว่า การศึกษาเรื่องการระดมพลังทางการเมืองจะมีลักษณะเป็นการศึกษาเรื่องยุทธศาสตร์ของ
           พรรคการเมืองว่าใช้วิธีการอันใดระดมเสียงสนับสนุนจากประชาชน และมีการวางยุทธศาสตร์
           อย่างไรเพื่อให้พรรคการเมืองนั้นได้รับชัยชนะและสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ โดยส่วนใหญ่การวาง

           ยุทธศาสตร์แบบเดิมก็จะเป็นการกำหนดแผนให้สอดคล้องกับภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม
           ของกลุ่มเป้าหมาย ส่วนการวางยุทธศาสตร์ในยุคหลังก็จะเป็นการเน้นที่การสื่อสารหรือ
           การสร้างภาพจำให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่เรียกกันว่าเป็นการหาเสียงที่มีลักษณะเป็น
           “การตลาดทางการเมือง” (Political Marketing) โดยมีการใช้เทคนิคเรื่องการสื่อสารค่อนข้างมาก

           และมีการใช้เครื่องมือในการสื่อสารใหม่ ๆ
    สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 1   จะมีสองลักษณะ คือ หนึ่ง การระดมพลังจากฐานรากขึ้นมา (Bottom up) การระดมพลัง
                 2) การระดมพลังมวลชน หรือที่เรียกว่า Mass Mobilization ซึ่งการระดมพลังแบบนี้


           มวลชนแบบนี้เป็นลักษณะที่คุ้นเคย นั่นคือ เป็นการระดมพลังจากประชาชนกลุ่มที่อาจรู้สึก

           ไม่พอใจกับบางสิ่งบางอย่าง เช่น ไม่พอใจกับการบริหารงานของรัฐบาล และต้องการเรียกร้อง
           บางอย่าง การศึกษารูปแบบการระดมพลังมวลชนลักษณะนี้จะเป็นการศึกษาผ่านการชุมนุม
   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165