Page 164 - kpiebook65043
P. 164
164 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
พรรคอนาคตใหม่เป็นพิเศษเนื่องจากเป็นพรรคใหม่ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้ง
เป็นครั้งแรก (First-time voter) ค่อนข้างมากและกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ก็เป็นกลุ่มที่นิยมใช้สื่อ
โซเชียล ส่งผลให้พรรคอนาคตใหม่มีการหาเสียงผ่านสื่อโซเชียลค่อนข้างมาก และจากการมุ่ง
ศึกษากรณีของพรรคอนาคตใหม่ Aim ได้พบข้อสังเกตสำคัญ 3 ประการเกี่ยวกับการหาเสียง
ผ่านสื่อโซเชียลของพรรคดังกล่าว คือ
1) พรรคอนาคตใหม่มีลักษณะเป็นพรรคใหม่ และจำเป็นจะต้องหาเสียงภายในเวลา
อันรวดเร็วเนื่องจากไม่มีฐานเสียงมาก่อน ดังนั้น การเลือกใช้วิธีการหาเสียงผ่านสื่อโซเชียล
จึงกลายเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่คาดว่าจะทำให้ได้ฐานเสียงจำนวนมากในเวลาอันสั้น
2) ยุทธศาสตร์การหาเสียงของพรรคอนาคตใหม่มีกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มเยาวชน
ซึ่งเป็นกลุ่มที่เคยชินกับการใช้สื่อโซเชียล
3) แม้ว่าพรรคอนาคตใหม่จะมียุทธศาสตร์หลักเกี่ยวกับการหาเสียงผ่านสื่อโซเชียล
แต่การหาเสียงผ่านสื่อโซเชียลก็มักจะใช้ได้ผลดีเฉพาะในเขตเมือง หรือเขตที่ประชาชนนิยม
และสามารถเข้าถึงสื่อโซเชียลได้ แต่ในการหาเสียงในพื้นที่ระดับเขตจังหวัดที่ไม่ใช่เขตเมืองแล้ว
กลับมีทรัพยากรบุคคลที่จะดำเนินการดังกล่าวไม่มากพอ และไม่สามารถควบคุมการดำเนินการได้
ที่สำคัญ จากการศึกษาการใช้สื่อโซเชียลในการหาเสียงของพรรคการเมืองต่าง ๆ
ในช่วงการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 แล้ว สามารถสรุปเป็นข้อสรุปเบื้องต้นที่สำคัญได้ ดังนี้
1) พรรคที่มีกิจกรรมมากที่สุด (active) บนหน้าเพจ เช่น มีการโพสต์บ่อย ๆ อาจจะ
ไม่ใช่พรรคที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางสื่อโซเชียลมากที่สุดก็ได้ ดังนั้น การโพสต์ข้อมูล
บ่อย ๆ ก็อาจไม่ได้รับประกันว่าประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมกับพรรคนั้น ๆ ทางสื่อโซเชียล
เป็นจำนวนมาก ในทางกลับกัน พรรคที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางสื่อโซเชียลมาก อาจเป็น
เพราะมีฐานเสียงในโลกออนไลน์อยู่แล้ว หรือมีการโพสต์เนื้อหาที่น่าสนใจ โดยน่าสนใจในกรณีนี้
อาจจะเป็นเพราะเป็นเนื้อหาที่มีคนชอบหรือเห็นด้วย หรืออาจเป็นเนื้อหาที่มีคนจำนวนมาก
ไม่ชอบ (เกลียด) หรือไม่เห็นด้วยก็ได้
2) การหาเสียงผ่านสื่อโซเชียล มักจะเป็นการหาเสียงที่เน้นตัวบุคคลมากกว่าเน้นที่
พรรค ดังนั้น หัวหน้าพรรคการเมืองก็จะมีความสำคัญมาก เพราะเวลาหาเสียงผ่านสื่อเหล่านี้
จะกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่าพรรค อย่างไรก็ตาม ในประเด็นนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ
ธรรมชาติของการเมืองไทยด้วยที่มักจะให้ความสำคัญกับตัวบุคคลมากกว่าสถาบัน ซึ่งแม้จะ
สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 1 เปลี่ยนวิธีการหาเสียง หรือโลกเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัล ข้อเท็จจริงนี้ก็จะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
แค่เปลี่ยนรูปแบบไปเท่านั้น
3) พรรคการเมืองใหม่ที่ไม่มีฐานเสียงเดิมรองรับและจำเป็นจะต้องสร้างฐานเสียง
ในระยะเวลาอันนั้น ก็จำเป็นจะต้องใช้สื่อโซเชียลในการสร้างฐานเสียงให้เร็วและมีประสิทธิภาพ