Page 168 - kpiebook65043
P. 168

16   สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


           การเล่นนอกกติกาของชนชั้นนำที่มีอำนาจอยู่เดิม ซึ่งท้ายที่สุดก็จะเกิดการกลับมาของ
           ประชานิยมและอาจทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง หรืออย่างในกรณีของประเทศเกาหลีใต้
           ซึ่งประชานิยมได้ล่มสลายไปเนื่องจากการดำรงตำแหน่งครบวาระตามปกติ และเมื่อล่มสลาย
           ไปแล้ว ประชาธิปไตยก็กลับไปสู่รูปแบบการแข่งขันกันปกติ การเกิดขึ้นของประชานิยมจนดับ

           ไปในช่วงก่อนนั้น ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรกับคุณภาพของประชาธิปไตย ส่วนกรณีของ
           ประเทศไทยนั้น อาจมีลักษณะคล้ายกับลาตินอเมริกาหรือฟิลิปปินส์ แต่ที่สำคัญคือ ต้องปล่อย
           ให้เกิดการแข่งขันตามปกติในระบอบประชาธิปไตย หรือก็คือ แข่งขันกันแบบการเลือกตั้งปกติ

           ไม่ควรใช้กฎเกณฑ์นอกกติกาเพื่อโค่นล้มประชานิยม เพราะแท้จริงแล้ว ประชานิยมก็ไม่ใช่
           ปรากฏการณ์ที่น่ากลัว  แต่เป็นเพียงปรากฏการณ์ที่ทำให้พรรคการเมืองแบบเก่าอาจจะต้อง
           ปรับตัวเท่านั้น


           การปรับตัวของพรรคการเมืองภายใต้ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


                 จากปัจจัยและความเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์ทางการเมืองใหม่ซึ่งมีส่วนทำให้
           พรรคการเมืองถูกท้าทายดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ในส่วนนี้ จะเป็นการกล่าวถึงการปรับตัว
           ของพรรคการเมือง โดย ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ได้พยายามอธิบายว่า ที่ผ่านมาจะมีความเชื่อ

           ว่าพรรคการเมืองสามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยสองทฤษฎีหลัก ๆ ด้วยกัน คือ

                 1) เชื่อว่าพรรคการเมืองที่สามารถเชื่อมตนเองเข้ากับทรัพยากรที่ประชาชนผู้มีสิทธิ
           เลือกตั้งได้ ก็จะทำให้เกิดความกลมกลืนกัน หรือการที่พรรคการเมืองสามารถทราบถึง
           ผลประโยชน์ของประชาชนและความต้องการของประชาชนได้ ก็จะทำให้พรรคสามารถ

           สร้างนโยบายจากสิ่งเหล่านี้แล้วดึงดูดเสียงของประชาชนได้

                 2) เชื่อว่าพรรคการเมืองจะเข้มแข็งได้ จะต้องมีการสร้างพรรคการเมืองเป็นสถาบัน
           ทางการเมืองหรือเป็นองค์กรทางการเมือง นั่นคือ จะต้องมีโครงสร้าง มีการแบ่งงานกันทำ
           มีการจัดวางตำแหน่ง และพรรคจะต้องไม่ผูกอยู่กับผู้นำ


                 อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่สังคมได้เข้าสู่โลกยุคดิจิทัล ส่งผลให้การรวมตัวกันเป็น
           พรรคการเมืองหลายกรณีกระทำผ่านสื่อดิจิทัลโดยไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างเชิงองค์กรหรือ
           สถาบันเหมือนแต่ก่อน และยังมีการใช้สื่อดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการสร้างฐานเสียงและ

           รักษาฐานเสียงด้วย แม้สื่อดิจิทัลจะเป็นสื่อที่ทรงพลัง แต่การจะใช้ให้ประสบความสำเร็จนั้น
    สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 1   พรรคการเมืองด้านใช้สื่อดิจิทัลให้ประสบความสำเร็จ ดังนี้
           ก็ต้องอาศัยความ “รู้จักใช้” พอสมควร โดยสติธรได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับตัวของ


                 1) รู้จักใช้ข้อมูล (Data) : โดยสติธรเห็นว่า โลกดิจิทัลทำให้ข้อมูลมีความสำคัญมาก

           ยิ่งขึ้น พรรคการเมืองจะต้องมีข้อมูลของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อจะได้วางแผนการหาเสียงให้ตรง
           กลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแยกแยะช่วงวัยของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งปัจจุบันมีการ
           เสพสื่อคนละประเภทส่งผลให้มีวิธีการคิดที่ต่างกันมาก
   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173