Page 162 - kpiebook65043
P. 162

162  สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


                 จากสภาพของพรรคการเมืองที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น นิธิได้ชี้ชวนให้พิจารณาถึง
           ปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นและส่งผลให้เกิดความท้าทายต่อพรรคการเมือง

                 ๏  พรรคการเมืองกับโลกดิจิทัล : เพราะโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัลพรรคการเมืองเลยต้อง

           ปรับตัว หรือเพราะพรรคการเมืองต้องปรับตัวจึงต้องเข้าสู่โลกดิจิทัล ?

                   นิธิได้สะท้อนภาพให้เห็นว่าสื่อดิจิทัลและพรรคการเมืองนั้น ได้ส่งผลกระทบ
           ต่อพรรคการเมือง โดยในมุมหนึ่งนั้นการใช้สื่อดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทต่อความเปลี่ยนแปลงของ
           สังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่เกิดวิกฤตโรคระบาดโควิด - 19 เนื่องจากช่วงเวลาที่เกิดโรคระบาด

           ดังกล่าวนั้นทำให้การพบปะของผู้คนไม่สามารถทำได้อย่างปกติ แต่จะต้องพบปะผ่านโลกออนไลน์
           จนอาจกล่าวได้ว่า โลกออนไลน์หรือสื่อดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทและส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์
           ใหม่ ๆ ในสังคมเป็นอย่างมาก คือ หนึ่ง ทำให้เกิดเส้นแบ่งที่ชัดเจนในหลาย ๆ มุม ไม่ว่าจะ
           เป็นเส้นแบ่งของกลุ่มคนที่เสพสื่อต่างกันอย่างกลุ่มคนที่สามารถเข้าถึงสื่อดิจิทัลได้ และกลุ่มคน

           ที่ไม่สามารถเข้าถึงสื่อดิจิทัลได้ (Digital Divide) และการแบ่งขั้วทางความคิดและการเมือง
           สืบเนื่องจากมีชนิดของสื่อให้เลือกเสพมากมาย และประชาชนแต่ละรุ่นแต่ละวัยก็เลือกที่จะเสพ
           สื่อต่างชนิดกัน ทำให้เกิดการแบ่งแยกขั้วทางความคิดของคนต่างรุ่นที่ชัดเจน (Generational
           Earthquake) และความต่างเหล่านี้เองก็จะสะท้อนภาพในการสนับสนุนพรรคการเมือง

           ที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มคนที่เข้าถึงสื่อได้ต่างกันหรือเสพสื่อต่างชนิดกัน และสอง การเกิดขึ้น
           ของโลกดิจิทัลก็ทำให้เกิดการรวมกลุ่มในอีกรูปแบบหนึ่งจนส่งผลให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า
           “Echo Chamber” นั่นคือ กลุ่มคนที่คิดเหมือนกันก็จะพูดและฟังกันเองมากกว่าจะไปฟังสิ่งที่
           คนอีกกลุ่มคิด เราเห็นภาพนี้ได้อย่างชัดเจนจากการรวมกลุ่มผ่านแอปพลิเคชันอย่างคลับเฮาส์

           (Club House) หรือผ่านการรวมกลุ่มอื่น ๆ ที่จะเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มคนที่คิด
           เหมือนกันหรือมีความเห็นไปในทางเดียวกัน ยิ่งกว่านั้น โลกดิจิทัลยังมีสิ่งที่เรียกว่า
           “Algorithm” ซึ่งเป็นการดึงเอาสิ่งที่เราสนใจหรือเปิดเข้าไปดูบ่อย ๆ ขึ้นมานำเสนอให้ผู้รับสาร
           ทั้งสองสิ่งนี้ได้ก่อให้เกิดความเป็นปัจเจกหรือความสนใจเฉพาะกลุ่มที่มากยิ่งขึ้น และ

           ทำให้ประชาชนเรียกร้องให้มีการตอบสนองความต้องการแบบเฉพาะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลต่อ
           พรรคการเมืองในลักษณะที่ว่าพรรคการเมืองอาจจะต้องตอบสนองต่อประชาชนแบบมีรายละเอียด
           เฉพาะกลุ่มมากยิ่งขึ้น หรือเปลี่ยนนโยบายและวิธีการในการหาเสียงและรักษาฐานเสียง

                   ในอีกมุมหนึ่ง นิธิได้สะท้อนให้เห็นว่า สืบเนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางสื่อดิจิทัล

           และเทคโนโลยีสารสนเทศที่กล่าวมาข้างต้น ตลอดจนสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดที่ส่งผล
    สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 1   กล่าวไปตอนต้นว่าประชาชนมีความเชื่อถือพรรคการเมืองลดลง และพรรคการเมืองก็เชื่อมโยง
           ให้การใช้สื่อออนไลน์เป็นสิ่งที่จำเป็นมากยิ่งขึ้น ประกอบกับสถานการณ์พรรคการเมืองดังที่ได้


           กับประชาชนได้น้อยลงอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ พรรคการเมืองจึงจำเป็นต้องปรับตัวโดยนำ

           สื่อดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ในการขยายช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชนกับพรรคการเมือง
           ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งมีกรณีศึกษาหลายกรณีที่สะท้อนให้เห็นว่าพรรคการเมืองบางพรรคได้ก่อตัวขึ้น
   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167