Page 174 - kpiebook65043
P. 174
1 4 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
ในปัจจุบัน นั่นคือ สื่อโซเชียล (Social Media) ไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือ Twitter หรือ
LINE ซึ่งทำให้เกิดความผันผวนและไม่สามารถหยุดความเปลี่ยนแปลงได้ และปรากฏการณ์นี้
เคยถูกทำนายโดยนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญในการอธิบายเรื่องปรากฏการณ์
ของประชาธิปไตยอย่าง Larry Diamond ก็เคยทำนายไว้เมื่อ 3 ปีที่แล้ว (ค.ศ. 2018)
ว่าลักษณะของสื่อโซเชียลนี้ จะทำให้ลักษณะของความนิยมในสื่อปกติ เช่น โทรทัศน์ หรือวิทยุ
ลดลง และต่อจากนั้น ก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลงต่อความสนใจของประชาชน โดยจากเดิมนั้น
เนื่องจากการเสพสื่อแบบโทรทัศน์หรือวิทยุที่มีช่องจำกัดก็จะส่งผลให้ความสนใจของประชาชน
ยังคงมีจุดร่วมกันอยู่เพราะประชาชนแม้จะต่างวัยกันแต่ก็จะเสพสื่อชนิดเดียวกัน แต่การเกิดขึ้น
ของสื่อโซเชียล และอินเทอร์เน็ตนี้ทำให้ประชาชนสามารถเลือกเสพสื่อที่แตกต่างกันได้ตาม
ความสนใจ และการเลือกเสพสื่อที่ต่างกันนี้เองก็จะทำให้แต่ละคนอยู่กับเขตแดนความสนใจ
ของตนเอง เสมือนว่าอยู่ใน “Bubble” ของตัวเอง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สังคมมีความเป็น
ปัจเจกมากยิ่งขึ้น และสิ่งที่ตามมาก็คือ แต่ละคนจะเลือกเชื่อในข้อมูลที่ได้จากสิ่งที่ตัวเองเสพ
เช่น ฝ่ายที่มีความคิดอนุรักษ์นิยม ก็จะไม่เชื่อสิ่งที่ฝ่ายเสรีนิยมพูด และกลับกันก็เช่นเดียวกัน
ที่สำคัญ นิกรยังแสดงให้เห็นว่าโดยธรรมชาติของสื่อเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น Facebook
หรือ Instagram หรือ Twitter ก็มักจะถูกวางโปรแกรมให้ป้อนแต่สิ่งที่ผู้เสพสื่อชอบ อยากอ่าน
หรืออยากฟัง ส่งผลให้ผู้คนได้เสพเฉพาะสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ฟังหรืออ่าน และยิ่งทำให้สังคม
มีความเป็นปัจเจกมากยิ่งขึ้น หรือกล่าวให้ถึงที่สุด ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ความแตกต่าง
ในความเชื่อ อุดมการณ์ และทัศนคติที่มีอยู่แล้วในสังคม ยิ่งปรากฏชัดมากขึ้นจนกลายเป็นว่า
เกิดการแบ่งขั้วทางการเมือง (Political Polarization)
ความเปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคมไทย โดยเฉพาะความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนี้เอง ได้ทำให้สภาวะสังคมมีความผันผวน
นอกจากนี้ นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา ได้พยายามชี้ให้เห็นว่า ถ้าหากนับ
ตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มมีความขัดแย้งทางการเมืองที่แบ่งออกเป็นสองฝ่ายอย่างเห็นได้ชัดเป็นต้นมา
ก็ต้องถือว่าความผันผวนนี้ได้อยู่คู่กับคนไทยมากว่า 15 ปีแล้ว โดยเริ่มนับตั้งแต่ พ.ศ. 2549
และที่ผ่านมา ประเทศไทยก็มีรัฐธรรมนูญทั้งที่เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวร
2 ฉบับ (ฉบับที่ประกาศใช้ พ.ศ. 2550 และฉบับปัจจุบันที่ประกาศใช้ พ.ศ. 2560) และ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราวอีก 2 ฉบับ (ฉบับที่ประกาศใช้ พ.ศ. 2549
และฉบับที่ประกาศใช้ พ.ศ. 2557) และอีกฉบับที่ไม่ถูกประกาศใช้ ก็คือ ร่างรัฐธรรมนูญ
สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 2 ที่ผ่านมาก็มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นหลายครั้งทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จ สิ่งเหล่านี้ได้ทำให้เห็นถึง
ที่ถูกยกร่างโดยคณะกรรมาธิการที่มีศาสตราจารย์ ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน และ
ความเปลี่ยนแปลงทั้งในส่วนของการกำหนดโครงสร้างเชิงอำนาจ และกติกาที่กำหนดเรื่อง
การใช้อำนาจ โดยสิ่งเหล่านี้บัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญ และก็มีความเปลี่ยนแปลงในส่วนของ
กลุ่มผู้ใช้อำนาจที่เปลี่ยนไปตามการเลือกตั้งแต่ละครั้ง และในส่วนของภาคพลเมืองหรือ
ภาคประชาชน ก็จะพบว่ามีการชุมนุมเกิดขึ้นหลายครั้งเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทำตามข้อเสนอ