Page 176 - kpiebook65043
P. 176
1 6 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
คำถามที่สำคัญต่อมาก็คือ ความขัดแย้งทั้งสองขั้วนี้ จะยืนอยู่บนพื้นที่ประชาธิปไตย
เดียวกันได้อย่างไร ?
ในประเด็นดังกล่าวนี้ นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ได้สะท้อนให้เห็นว่า การมีอุดมการณ์หรือ
ชุดความเชื่อที่แตกต่างกัน หรือมีความฝันที่จะเห็นอนาคตของประเทศตัวเองไม่เหมือนกันนั้น
ถือเป็นเรื่องปกติของสังคม ดังนั้น แทนที่จะหาทางทำให้ทั้งสองฝ่ายคิดเหมือนกันได้อย่างไรนั้น
ก็ควรจะเป็นการหาทางให้ทั้งสองฝ่ายอยู่ร่วมกันได้อย่างไรมากกว่า โดยการที่จะทำให้ผู้เห็นต่าง
จากสองขั้วอุดมการณ์สามารถอยู่ร่วมกันได้นั้น จะต้องมีการหาข้อยุติ (ที่อาจจะไม่ได้
หมายความว่าเห็นด้วยกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่หาจุดที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับร่วมกันได้) และการหา
ข้อยุตินี้จะต้องทำโดยอาศัยสถาบันทางการเมืองที่มีอยู่ หรือกล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้นก็คือ
ยิ่งชีพเห็นว่าถ้าหากสถาบันทางการเมืองมีความเข้มแข็งและมีความชอบธรรม ก็จะมีระบบ
ที่สามารถหาทางออกได้ แม้ว่าต่างฝ่ายต่างจะยังคงเชื่อในอุดมการณ์และแนวทางของตน
อยู่ก็ตาม กล่าวให้ถึงที่สุดก็คือ “ชุดความคิดความเชื่อที่ไม่เหมือนกันก็ไม่เห็นเป็นไร...แต่ว่า
ก็ต้องมีพื้นที่ให้ทุกชุดความคิดความเชื่อนั้นทำงาน”
โดยการให้พื้นที่ให้ทุกชุดความคิดทำงานนี้ ยิ่งชีพได้ยกตัวอย่างกรณีของพรรคประชาชาติไทย
ที่มีจุดยืนอย่างชัดเจนในการสนับสนุนรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และก็ได้รับเลือก
จนมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคดังกล่าวถึง 5 ที่นั่ง ซึ่งได้สะท้อนให้เห็นว่า
ไม่ว่าจะยืนยันอุดมการณ์อย่างไรก็แล้วแต่ ก็สามารถมีพื้นที่ให้ยืนได้ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของ
ประชาชน
และการเปิดพื้นที่ในเบื้องต้นที่สุด และแรกเริ่มที่สุด เพื่อให้ทุกชุดความคิดที่แตกต่างกัน
สามารถทำงานอยู่ได้บนพื้นที่ประชาธิปไตยเดียวกัน ก็คือ “พรรคการเมือง”
อย่างไรก็ตาม ยิ่งชีพยังแสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายทั้งหลายที่ใช้บังคับอยู่ใน
ปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกติกาเกี่ยวกับพรรคการเมืองทั้งที่บัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกฎหมายที่ออกตามความในรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทยนั้นไม่ได้เอื้อให้เกิดพื้นที่ดังกล่าวเลย ซึ่งมองโดยภาพรวมแล้ว เท่ากับว่า
กฎหมายเกี่ยวกับพรรคการเมืองนั้น กำหนดให้พรรคการเมืองทำงานแทบไม่ได้ และเกิดภาวะที่
“พรรคใหม่เกิดยาก พรรคเก่าตายง่าย” ซึ่งภาวะนี้ทำให้กลุ่มคนที่มีอุดมการณ์ร่วมกันมารวมตัว
กันจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อนำเสนอสิ่งที่ตนเองต้องการได้ยากมากยิ่งขึ้น เริ่มจากการกำหนด 2
ให้พรรคการเมืองจะต้องจดทะเบียน และจะต้องมีทุนจดทะเบียนมากถึง 1,000,000 บาท
สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 2 และจะต้องมีผู้ก่อตั้งอย่างน้อย 500 คน โดยต้องจ่ายเงินคนละ 1,000 บาท และจะต้องจ่าย
ทันที เช่นนี้ จะเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ใช้แรงงานที่มีค่าแรงวันละ 300 บาท จะสามารถตั้ง
พรรคการเมืองได้ นอกจากจะต้องมีนายทุนมาสนับสนุนในช่วงเริ่มแรก และก็อาจทำให้
2
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 9 วรรคสอง