Page 180 - kpiebook65043
P. 180
1 0 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
นอกจากนี้ วรรณภายังชี้ชวนให้พิจารณาถึงความไม่ชอบธรรมที่เกิดขึ้นกับสถาบัน
ทางการเมืองของประเทศไทยด้วย โดยชี้ให้เห็นว่า ความไม่ชอบธรรมในปัจจุบันเกิดขึ้นได้หลาย
รูปแบบ คือ
1) ความไม่ชอบธรรมที่เกิดจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest)
ซึ่งถ้าหากพิจารณาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน ก็อาจเกิดคำถาม
มากมายเกี่ยวกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์ เช่น การกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สามารถดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีได้ เป็นต้น
2) ความไม่ชอบธรรมที่เกิดจากการกำหนดที่มาของผู้ดำรงตำแหน่งในสถาบันทาง
การเมืองต่าง ๆ ที่อาจจะไม่ชอบธรรม จริงอยู่ว่าที่มาของผู้ดำรงตำแหน่งในสถาบันทางการเมือง
ไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่ใช้ในการพิจารณาความชอบธรรม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าถ้าหากผู้ใช้อำนาจ
ทางการเมืองมีที่มาที่ไม่ยึดโยงกับประชาชนก็จะเกิดคำถามเกี่ยวกับความชอบธรรม หรือ
ถ้าหากจำเป็นที่ผู้ใช้อำนาจในองค์กรทางการเมืองนั้นจะต้องไม่มีที่มาที่ยึดโยงกับประชาชนหรือ
มีจุดยึดโยงกับประชาชนน้อย ก็จะต้องกำหนดให้องค์กรเหล่านั้นมีอำนาจน้อยกว่าองค์กรที่มี
ผู้ใช้อำนาจมีจุดยึดโยงกับประชาชน หรือกล่าวโดยสรุปก็คือ ที่มาของผู้ใช้อำนาจ จะต้องมี
ความสัมพันธ์กับขอบเขตการใช้อำนาจเสมอ
3) ความโปร่งใสในการทำงาน ซึ่งหมายถึงว่า แต่ละองค์กรจะต้องทำงานด้วยความโปร่งใส
และองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบสถาบันทางการเมือง เช่น องค์กรอิสระ ก็จำเป็นจะต้องมี
ความเป็นอิสระ และจะต้องมีกลไกให้องค์กรอิสระเหล่านี้ต้องสามารถถูกตรวจสอบได้ด้วย
4) ความชอบธรรมในเรื่องเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ โดยการออกเสียงประชามติ
นั้นเป็นทางออกที่ดีมากวิธีหนึ่งในการหาข้อยุติความขัดแย้งอย่างชอบธรรม เพราะประชามติ
จะเป็นการย้อนกลับไปถามเสียงของประชาชนว่าจะหาทางออกของประเทศร่วมกันอย่างไร
แต่ถ้าหากการออกเสียงประชามติไม่มีความเป็นธรรม เช่น คำถามมีปัญหาก็อาจก่อให้เกิด
คำถามต่อผลการออกเสียงประชามติได้
5) ความชอบธรรมในเรื่องการจัดสรรผลประโยชน์ของชาติ ที่ผ่านมา การจัดสรร
นโยบายภาครัฐไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัคซีน หรือสวัสดิการพื้นฐานต่าง ๆ ถูกตั้งคำถามเรื่อง
การจัดสรรที่ไม่อยู่บนความต้องการของประชาชนหรือมีการจัดสรรที่ไม่ได้ฟังเสียงประชาชน
ตลอดจนกระทั่งการจัดสรรผลประโยชน์โดยผลักภาระบางอย่างให้ประชาชน เช่น การต้อง
สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 2 อีกรอบว่า ในภาวะความผันผวนทุกวันนี้ บริบททางสังคมอยู่ในจุดที่เรียกว่า “การเมืองเป็นเรื่อง
ลงทะเบียน หรือติดตั้งแอปพลิเคชัน เป็นต้น
จากการกล่าวถึงความชอบธรรมและความไม่ชอบธรรมทั้งหมดข้างต้น วรรณภาได้เน้นย้ำ
ของทุกคน” ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่เมื่อพูดถึงการเมือง ก็มักจะนึกถึงเฉพาะตัวแสดงทาง
การเมือง ได้แก่ คนที่ทำงานในแวดวงการเมือง แต่เพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้ ความชอบธรรม