Page 182 - kpiebook65043
P. 182
1 2 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
คำนูณยังเสนอเพิ่มเติมด้วยว่า ควรใช้รัฐสภาเป็นเวทีในการเจรจาและเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยน
สำหรับผู้มีความเห็นต่าง เพราะรัฐสภาเป็นพื้นที่ของประชาชน
เมื่อมีการเน้นย้ำตลอดการพูดคุยว่า จะต้องฟังเสียงประชาชน และต้องทำให้เกิด
การแลกเปลี่ยนกันระหว่างประชาชนที่มีความเห็นต่าง คำถามต่อมาที่จะต้องพิจารณาก็คือว่า
จะสร้างกติกาที่เอื้อต่อการกำหนดพื้นที่แลกเปลี่ยนอย่างไรได้บ้าง ?
ในส่วนนี้ นิกร จำนง และคำนูณ เองต่างเห็นเหมือนกันในมุมที่ว่าการกำหนดกติกา
ให้ประชาชนมีพื้นที่ในการแสดงออกและแลกเปลี่ยนความเห็นต่างด้วยกันต้องเริ่มจาก
“พรรคการเมือง” โดยจะต้องแก้ไขกฎหมายพรรคการเมืองทำให้พรรคการเมืองเป็นสถาบัน
ที่เป็นจุดเริ่มต้นให้ประชาชนที่มีอุดมการณ์เหมือนกันได้รวมตัวกันง่ายกว่านี้ เพราะเมื่อ
ประชาชนรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมือง ก็จะนำไปสู่การกำหนดนโยบายในรัฐสภา
และย้อนกลับมาหาประชาชน ที่สำคัญ จะต้องทำให้ฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะรัฐสภาซึ่งเป็น
ตัวแทนของประชาชนสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ เพราะหลายกรณีพรรคการเมืองได้หาเสียง
ให้สัญญากับประชาชนไว้ แต่สุดท้ายติดที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือการตีความกฎหมายของ
องค์กรที่เกี่ยวข้อง ทำให้ไม่สามารถทำตามที่สัญญากับประชาชนได้ จริงอยู่ที่จำเป็นจะต้อง
กำหนดบทบัญญัติหลายประการที่ควบคุมไม่ให้เกิดการขัดกันแห่งผลประโยชน์ แต่ก็ต้องสร้าง
สมดุลให้ฝ่ายการเมืองสามารถทำงานตามที่สัญญากับประชาชนได้ด้วย ตลอดจนองค์กรที่ใช้
อำนาจในการตีความกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝ่ายตุลาการ ก็จะต้องตีความกฎหมายโดย
ยึดหลักนิติธรรม (Rule of Law) เป็นสำคัญ
และเพื่อให้เดินไปถึงเป้าหมายในการกำหนดกติกาดังกล่่าว ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ได้เสนอว่า
ควรจะต้องเริ่มจากการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่โดยประชาชน เพื่อกำหนดกติกาลักษณะดังที่มี
การกล่าวมาข้างต้น และในเมื่อสถาบันทางการเมืองจำเป็นจะต้องปรับตัวให้เข้ากับความต้องการ
ของประชาชน ดังนั้น กฎหมายในระดับรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายระดับพระราชบัญญัติใด ๆ
ก็ตามที่ห้ามคนวิพากษ์วิจารณ์สถาบันทางการเมือง ก็จะต้องถูกปรับปรุงแก้ไขต่อไป
สุดท้ายนี้ วรรณภาได้ทิ้งท้ายไว้อย่างน่าสนใจว่าการสร้างหลักเรื่องความชอบธรรม
และการพัฒนาสถาบันทางการเมืองให้มีความชอบธรรมที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมนั้น
ไม่ได้ทำแล้วจบภายในวันเดียว และทางออกก็ไม่ได้มีแค่ทางเดียว หรือทางออกจะต้องเป็น
ทางออกของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น และสิ่งที่น่าหวาดกลัวในประเด็นนี้ที่สุด
คือ “เวลาพูดถึงความชอบธรรม ก็มักจะไปอ้างความชอบธรรมในของกฎหมาย ที่อาจจะขัดต่อ
สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 2 หลักนิติรัฐ ขัดต่อประโยชน์สาธารณะ ขัดต่อหลักเหตุและผล รวมไปถึงขัดต่อเจตจำนงของ
คนในชาติ (เนื่องจากที่มาของกฎหมายอาจไม่ชอบธรรม) และการอ้างความชอบธรรมเช่นนี้
ถือว่าอันตรายมาก เพราะจะกลายเป็นการ (อ้างกฎหมาย) ครอบงำ แล้วก็กลายเป็น (องค์กร
ที่มีอำนาจในการตีความกฎหมาย) ตีความความชอบธรรมนั้นเสียเอง และเกิดการอ้างว่าสิ่งนี้
ชอบธรรมและกลับไปทำลายความชอบธรรมอื่น ๆ ... ท้ายที่สุดแล้ว การอ้างความชอบธรรม