Page 187 - kpiebook65043
P. 187
1
สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 3 เรื่อง
ตุลาการภิวัตน์ : อำนาจตุลาการ
เอกสารประกอบการประชุม ในการตัดสินคดีเกี่ยวกับการเมือง 1
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2564
ตามทฤษฎีการแบ่งแยกการใช้อำนาจของมองเตสกิเออร์
(Montesquieur) ซึ่งแบ่งอำนาจออกเป็นสามอำนาจ คือ นิติบัญญัติ
บริหารและตุลาการนั้น เป็นที่ยอมรับกันในเกือบทุกประเทศที่นำทฤษฎีนี้
ไปบัญญัติในรัฐธรรมนูญว่าฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) และฝ่ายบริหาร
(รัฐบาล) ถือเป็นฝ่ายที่เข้าสู่อำนาจด้วยวิธีการทางการเมือง หรือก็คือ
ถ้าหากเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแล้ว ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ
และฝ่ายบริหารจะมาจากการเลือกตั้ง (หรืออาจมาจากการเลือกของ
ผู้ที่เป็นตัวแทนของประชาชน) ส่วนฝ่ายตุลาการซึ่งเป็นองค์กรที่จะต้อง
ทำหน้าที่พิพากษาคดีตามกฎหมายนั้นถือว่าเป็นองค์กรที่จะต้องมีความเป็น
อิสระและเป็นกลาง ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายตุลาการจึงมักถูกออกแบบให้มีที่มา
ที่ปลอดการเมืองมากที่สุด ดังจะเห็นได้ว่าแทบจะไม่มีประเทศใดในโลก
เลยที่กำหนดให้ผู้พิพากษาหรือตุลาการมาจากการเลือกตั้งของประชาชน
หรือมีความเกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมืองอย่างใกล้ชิด และเนื่องจากการมี
ที่มาที่ไม่ยึดโยงกับประชาชนนี่เอง จึงทำให้การใช้อำนาจของผู้พิพากษา
และตุลาการมีอยู่อย่างจำกัด นั่นคือ ผู้พิพากษาและตุลาการจะต้อง
พิพากษาคดีตามที่กฎหมายกำหนด และมีหลักที่ใช้เป็นกรอบ
ในการพิจารณาคดีมากมาย เช่น ห้ามพิพากษาเกินคำขอ หรือจะพิพากษา
ได้ก็ต่อเมื่อมีการฟ้องร้องต่อศาลแล้ว (ไม่สามารถหยิบข้อพิพาทที่เกิดขึ้น
มาพิพากษาได้เองโดยไม่มีการฟ้องร้อง) เป็นต้น
1 วิทยากร โดย ศาสตราจารย์พิเศษจรัญ ภักดีธนากุล อดีตตุลาการ
ศาลรัฐธรรมนูญ, ดร.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, ดร.รวินท์ ลีละพัฒนะ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และนายกล้า สมุทวณิช นักวิชาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำเนินรายการโดย
นางสาวชมพูนุท ตั้งถาวร นักวิชาการผู้ชำนาญการ สำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา
สถาบันพระปกเกล้า