Page 194 - kpiebook65043
P. 194
194 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
ตั้งใจจะทำตามสัญญาที่เคยให้ไว้ตอนหาเสียงก็กลับถูกฟ้องร้อง และในหลายกรณี
ฝ่ายตุลาการเองกลับมีคำวินิจฉัยไปในทางที่ทำให้นโยบายนั้นไม่สามารถใช้บังคับได้เนื่องจากให้
เหตุผลว่า “ขัดรัฐธรรมนูญ” จึงเกิดเป็นคำถามว่า ฝ่ายตุลาการซึ่งมีจุดยึดโยงกับประชาชน
น้อยมาก สามารถคัดค้านหรือล้มเลิกนโยบายของฝ่ายการเมืองที่ประชาชนได้เลือกมาได้อย่างไร
ในประเด็นดังกล่าวนี้ได้ทำให้เกิดการโต้แย้งมาตลอด โดยนักวิชาการฝ่ายหนึ่ง
อาจเห็นด้วยกับกรณีที่ฝ่ายตุลาการเข้ามาควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด
จนอาจส่งผลให้เกิดการล้มหรือยกเลิกนโยบายของฝ่ายการเมือง แต่ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่ง
อาจไม่เห็นด้วยก็ได้ให้เหตุผลโต้แย้งเรื่องจุดยึดโยงกับประชาชน อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่าย
ต่างก็มีเหตุผลและกรณีศึกษาต่างประเทศรองรับทั้งสิ้น ทั้งนี้ รวินท์ ลีละพัฒนะ ได้ชี้ชวนให้
พิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกว่าฝ่ายตุลาการได้รับการยอมรับ
ในหลายกรณีให้เข้ามาวินิจฉัยคดีที่มีความเกี่ยวข้องกับการเมือง หรืออาจทำให้นโยบายทาง
การเมือง (หรือในบางกรณี ก็ผลการออกเสียงประชามติของประชาชน) สิ้นผลลงได้
อย่างไรก็ตาม รวินท์ได้ชี้ให้เห็นว่า การก้าวล่วงการตัดสินใจหรือนโยบายทางการเมือง
ของฝ่ายตุลาการในแต่ละประเทศนั้น ขึ้นอยู่กับบริบททางประวัติศาสตร์ของประเทศนั้น ๆ เอง
ตลอดจนการอ้างเหตุผลของฝ่ายตุลาการด้วย และบริบททางประวัติศาสตร์ประกอบกับเหตุผล
นี้เอง จะเป็นตัวกำหนดว่าในคดีนั้น ๆ ฝ่ายตุลาการมีความชอบธรรมหรือไม่ที่จะวินิจฉัยคดี
ก้าวล่วงนโยบายทางการเมืองหรือเสียงของประชาชน และประชาชนจะสามารถยอมรับต่อ
ความชอบธรรมที่ฝ่ายตุลาการนั้นกล่าวอ้างได้หรือไม่ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นตัวกลับไปกำหนดเช่น
กันว่า ธรรมชาติของฝ่ายตุลาการในแต่ละประเทศจะกล้าวินิจฉัยคดีที่จะก้าวล่วงไปถึงการใช้
อำนาจของฝ่ายการเมืองมากน้อยเพียงใด โดยรวินท์ได้พยายามอธิบายเรื่องนี้ผ่านกรณีศึกษา
สองประเทศที่เป็นต้นแบบของประเทศไทยแต่มีบริบททางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน คือ กรณี
5
ของประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งมองผ่านการวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับ “การกระทำทางรัฐบาล”
เริ่มแรกจากการศึกษากรณีศึกษาของประเทศอังกฤษ จะเห็นว่าในประวัติศาสตร์
การเมืองของอังกฤษนั้น จะเน้นไปที่การต่อสู้ทางอำนาจของชนชั้นนำคือฝ่ายรัฐสภา (ซึ่งเป็น
ตัวแทนของประชาชน) และฝ่ายบริหาร (ซึ่งรวมถึงพระมหากษัตริย์ด้วย) และหลังจาก
การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (Glorious Revolution) แล้ว ทำให้เกิดการตราพระราชบัญญัติว่าด้วย
สิทธิ (Bill of Rights) ใน ค.ศ. 1689 ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ถึงชัยชนะของรัฐสภาว่าสามารถทำให้
5
สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 3 โดยแท้ เช่น การทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ การประกาศสงคราม การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
หมายถึง การดำเนินการของฝ่ายบริหารที่เป็นการใช้อำนาจในฐานะรัฐบาลและเป็นเรื่องการเมือง
การใช้อำนาจที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายนิติบัญญัติอย่างการเสนอกฎหมาย เป็นต้น และโดยทั่วไปแล้ว การกระทำที่
เรียกว่าการกระทำทางรัฐบาลนี้จะถูกตรวจสอบโดยฝ่ายการเมืองด้วยกันเอง (คือ รัฐสภา) และไม่ถูกตรวจสอบ
โดยฝ่ายตุลาการ การอภิปรายในส่วนนี้ มีเนื้อหาหลักจาก รวินท์ ลีละพัฒนะ และชมพูนุท ตั้งถาวร, 2565,
มุมมองใหม่ต่อการกระทำทางรัฐบาลในประเทศไทย : ศึกษาผ่านประวัติศาสตร์กฎหมายรัฐธรรมนูญ,
กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า