Page 199 - kpiebook65043
P. 199
สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23 199
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
จะต้องเป็นเช่นนั้น ก็ต้องเป็นเช่นนั้นจริง ๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการให้เหตุผลของศาลด้วย หรือ
สอง การตัดสินที่มีลักษณะสอดคล้องกับความต้องการของคนส่วนมาก และทำให้เรื่องดังกล่าว
เดินไปข้างหน้า หรือก็คือ ในฝ่ายการเมืองอาจมีบางเรื่องที่สอดคล้องกับความต้องการของ
ประชาชนส่วนมาก แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ และคำตัดสินของศาลก็เป็นตัวเร่งให้สิ่งนั้น
สามารถเดินไปข้างหน้าได้ เช่น กรณีของการแก้ประมวลกฎหมายอาญาเรื่องการยุติการตั้งครรภ์
ซึ่งติดขัดหลายประการในรัฐสภา แต่เมื่อศาลพิพากษาแล้วก็ทำให้เรื่องดังกล่าวสามารถเดินไป
ข้างหน้าได้ และสาม การตัดสินคดีที่ส่งผลให้เกิดการเดินไปข้างหน้ายิ่งกว่าสังคม หรือ
ก็คือเป็นการตัดสินคดีที่ศาลเป็นผู้ชี้ทางไปหรือที่เรียกว่า enlightenment เช่น กรณีการอนุญาต
ให้คนรักเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสได้ ซึ่งบางประเทศยังอยู่ในสภาวะที่ไม่พร้อม แต่เมื่อ
ศาลพิพากษา โดยมีผลให้ต้องอนุญาตให้เกิดการจดทะเบียนดังกล่าวแล้วก็ต้องดำเนินการตาม
อย่างไรก็ตาม การตัดสินในแบบที่สามนี้ยังมีการศึกษาน้อยมาก ในบางกรณีก็เป็น
การตัดสินที่สอดคล้องกับเสียงข้างมาก หรือบางกรณีก็ขัดแย้งกับเสียงข้างมากเช่นกัน และ
ในหลายกรณีก็เป็นการตัดสินที่มีเครือข่าย (networking) หรือมีเบื้องหลัง และในบางกรณี
ก็อาจเกิดการตัดสินที่เรียกว่า “การหยิบยืมแบบบิดผัน” (Abusive Borrowing) ซึ่งหมายถึง
การเห็นคำวินิจฉัยของประเทศอื่น ๆ ว่าดี จึงหยิบเอาเหตุผลหรือหลักกฎหมายในคำวินิจฉัย
ที่ดูดีหรืออาจเข้ากันได้กับธงที่ต้องการวินิจฉัยมาใช้ โดยที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ดั้งเดิม
ของคำวินิจฉัยต้นฉบับ
ดังนั้น ในเมื่อคำวินิจฉัยของศาลอาจมีได้หลายรูปแบบ และอาจไม่ได้ถูกใจทุกคนเสมอไป
เข็มทองจึงได้ชี้ว่าสิ่งที่สำคัญก็คือ ทำอย่างไรที่ฝ่ายตุลาการจะตัดสินใจให้ “ต่อให้คนไม่ชอบใจ
คำพิพากษานั้น แต่ก็ยังลงความเห็นว่ายินดีที่จะสนับสนุนศาลในฐานะองค์กรให้อยู่ต่อไปได้”
เช่น อาจจะไม่ชอบคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ก็ยินดีที่จะสนับสนุนให้ศาลรัฐธรรมนูญ
ยังมีอยู่ต่อไป เป็นต้น
“เส้นแบ่ง” ของการใช้อำนาจฝ่ายตุลาการกับคดีทางการเมือง
จากการที่ได้กล่าวถึงปรากฏการณ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจตุลาการในการ
ตัดสินคดีที่อาจเกี่ยวข้องกับการเมืองแล้ว จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของหลายประเทศในโลกก็คือ
การพยายามให้ศาลเข้าไปถ่วงดุลการใช้อำนาจของฝ่ายการเมือง โดยหาจุดสมดุลให้ได้ว่า
การตรวจสอบของศาลจะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของฝ่ายการเมืองมากจนเกินไป
และจะต้องไม่เป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของประชาชนมากเกินไป ซึ่งในกรณีดังกล่าวนี้
รวินท์ ลีละพัฒนะ ได้กล่าวถึงการถอดบทเรียนจากกรณีศึกษาต่างประเทศและกรณีของ
ประเทศไทย โดยชี้ให้เห็นว่า แม้ว่าที่ผ่านมานักวิชาการด้านกฎหมายมหาชนจะพยายามวาง
หลักเกณฑ์ว่า การดำเนินการใดถือว่าเป็นการกระทำทางรัฐบาลซึ่งมีลักษณะทางการเมืองโดยแท้ สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
ที่ศาลจะไม่เข้าไปก้าวก่ายก็ตาม แต่จากการพิจารณาคำพิพากษาของศาลไทยแล้วก็พบว่า