Page 201 - kpiebook65043
P. 201
สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23 201
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
สถานะของตนเอง และไม่ตัดสินหรือทำอะไรไปในทางที่จะทำให้ประชาชนต้องเสื่อมศรัทธา
สอง การตัดสินคดีจะต้องไม่ล่าช้า เพราะความล่าช้าก็คือความอยุติธรรม และสาม อีกสิ่งหนึ่ง
ที่จะต้องระมัดระวัง ก็คือ การตัดสินคดีด้วยความเป็นธรรม โดยจะต้องมีความเป็นอิสระ
และเป็นกลาง โดยต้องยืนอยู่บนหลักการ เป็นอิสระ (Independent) คือต้องปราศจาก
การแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง และสองต้องเป็นกลาง (Impartiality) คือจะต้องมีความเป็นกลาง
ทางการเมืองในสังคมที่ซับซ้อนนี้ และสามต้องมีคุณธรรม (Integrity) คือจะต้องไม่ทุจริต
ที่สำคัญ จรัญเองยังได้สะท้อนภาพว่าการที่ฝ่ายตุลาการเข้ามาวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับ
การเมืองนั้น ส่วนหนึ่งก็เกิดจากจุดอ่อนของฝ่ายการเมืองเองด้วย นั่นคือ ในหลายกรณีเสียง
ของพรรคฝ่ายค้านไม่ได้รับการคุ้มครอง ทั้งที่พรรคฝ่ายค้านกำลังปกป้องสิทธิของคนบางกลุ่มอยู่
หรือพยายามสิ่งที่ถูกต้อง แต่กลับสู้เสียงข้างมากในรัฐสภาไม่ได้ และอีกประการหนึ่งก็คือ
การทุจริตในฝ่ายการเมือง ดังนั้น ถ้าหากแก้ไขที่ฝ่ายการเมืองเองด้วย ก็อาจจะทำให้
ฝ่ายตุลาการเข้ามาวินิจฉัยคดีทางการเมืองน้อยลง
และในประเด็นที่ใกล้เคียงกันนี้ เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง ก็ได้สะท้อนภาพว่า
แม้ว่าปัจจุบันจะมีการวิพากษ์วิจารณ์หลายอย่างว่าฝ่ายตุลาการยุ่งเกี่ยวกับคดีทางการเมือง
มากเกินไป แต่ตนก็คิดว่าการยุบศาลหรือการเข้าไปยุ่งกับอิสระของฝ่ายตุลาการก็ไม่ใช่ทางออก
ที่พึงปรารถนาเช่นกัน การมีอยู่ของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิทักษ์ความเป็นกฎหมายสูงสุดของ
รัฐธรรมนูญนั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับ แต่สิ่งที่จะต้องปรับเพื่อให้ไม่เกิดการใช้อำนาจตุลาการ
ก้าวก่ายกับคดีทางการเมืองมากเกินไปก็คือ ศาลเองก็ต้องใช้อำนาจของตนเองด้วย
ความระมัดระวังในการเข้าไปวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและเคารพการใช้อำนาจของ
องค์กรอื่น โดยถ้าหากเห็นว่าประเด็นใดเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองโดยแท้ ก็อาจคืนให้
ฝ่ายการเมืองไปวินิจฉัยกันเอง ส่วนฝ่ายการเมืองนั้น เมื่อเห็นว่าประเด็นใดเป็นประเด็นทาง
การเมือง ก็ควรแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางการเมืองที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ ไม่ควรทำเรื่อง
การเมืองให้เป็นเรื่องกฎหมายโดยนำข้อพิพาทนั้นขึ้นสู่ศาล ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการแพ้ชนะ
แต่เพียงอย่างเดียว แต่ไม่อาจหาทางออกที่สมประโยชน์ทั้งสองฝ่ายด้วยการเจรจาต่อรองได้
การโต้ตอบของประชาชนและฝ่ายการเมือง ในเมื่อเรื่องการเมือง
กลายเป็นเรื่องของกฎหมายมากเกินไป
ในหลายประเทศก็มีตัวอย่างการโต้กลับของฝ่ายการเมืองในกรณีที่ฝ่ายตุลาการได้เข้ามา
วินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเมืองมากเกินไป โดยอาจเกิดจากกรณีที่ฝ่ายตุลาการเข้าไปวินิจฉัยคดี
ที่ประชาชนมีความเห็นว่าเรื่องดังกล่าวนี้ ศาลไม่ควรเข้ามาตัดสิน แต่ควรให้ประชาชนหรือ
รัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนตัดสินใจมากกว่า โดย กล้า สมุทวณิช ก็ได้ยกตัวอย่าง สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
กรณีที่เกิดการโต้กลับโดยฝ่ายการเมือง โดยอาจโต้กลับด้วยกลไกที่รัฐธรรมนูญกำหนด เช่น
ฝ่ายนิติบัญญัติแก้ไขกฎหมายกำหนดเขตอำนาจของศาล อย่างกรณีที่มีการขอแก้ไขเพิ่มเติม