Page 200 - kpiebook65043
P. 200
200 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
ศาลให้น้ำหนักกับการตัดสินคดีประเภทเดียวกันที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ในบางกรณีมีข้อเท็จจริง
ที่ใกล้เคียงกันมาก แต่ศาลเลือกที่จะไม่เข้าไปวินิจฉัยเลยโดยอ้างว่าสิ่งนั้นเป็นการกระทำทาง
รัฐบาล แต่ในบางกรณีที่ข้อเท็จจริงเป็นแบบเดียวกัน ศาลเลือกที่จะเข้าไปวินิจฉัยโดยมองว่า
ประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นทางกฎหมายไม่ใช่เรื่องทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม จากการพิจารณากรณีศึกษาทั้งจากฝรั่งเศสและอังกฤษแล้ว รวินท์ก็ได้ชี้ให้
เห็นว่า อันดับแรก ก็คือ การให้ความสำคัญกับเสียงของปวงชน กล่าวคือ ในกรณีที่ประเด็น
ปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นที่มีความเป็นการเมือง ไม่ใช่เรื่องถูกผิดหรือเรื่องของกฎหมาย
ก็ควรให้ความสำคัญกับเสียงของประชาชนหรือไม่สร้างคำวินิจฉัยที่จะก่อให้เกิดผลตรงกันข้าม
กับเสียงของประชาชน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ศาลอาจจะต้องจำกัดอำนาจของตนเอง
แต่ถ้าหากประเด็นดังกล่าวนั้นมีความเกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพ เช่น การกระทำทางรัฐบาลนั้น
อาจก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพหรือการออกเสียงประชามติหรือการตัดสินใจของ
ประชาชนนั้น จะก่อให้เกิดการกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนแล้ว ฝ่ายตุลาการอาจจะ
ต้องเข้าไปวินิจฉัย โดยรวินท์เห็นว่า การเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับคดีทางการเมืองเพื่อพิทักษ์สิทธิ
เสรีภาพของประชาชนนั้น ถือเป็นเหตุผลที่ยอมรับได้ในโลกปัจจุบัน
และในประเด็นเกี่ยวกับมติของมหาชนนั้น กล้า สมุทวณิช ก็ได้ชี้ให้เห็นอีกครั้งหนึ่งว่า
จุดอ่อนของฝ่ายตุลาการคือจุดยึดโยงกับประชาชนที่ไม่ได้มีมากเหมือนฝ่ายการเมืองในสถาบัน
ทางการเมืองอื่น ดังนั้น ฝ่ายตุลาการจำเป็นจะต้องไม่วางตัวเป็นฝ่ายตรงข้ามกับประชาชน
โดยไม่จำเป็น และถ้าหากเป็นไปได้ ก็ขอเสนอให้การควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของ
กฎหมายหรือร่างกฎหมายมีข้อจำกัดมากกว่านี้ กล่าวคือ กำหนดให้ตรวจสอบเฉพาะประเด็นที่
เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนเท่านั้น หรือว่าเป็นกรณีที่ร่างกฎหมายนั้นกระทบ
ต่อโครงสร้างของรัฐ หรือโครงสร้างองค์กรของรัฐธรรมนูญตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดซึ่งควรจะ
ต้องแก้ไขด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมากกว่า ส่วนประเด็นอื่นเกี่ยวกับการใช้อำนาจของ
ศาลรัฐธรรมนูญนั้น เช่น การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็อยากให้
เฉพาะเรื่องสถานะหรือลักษณะต้องห้ามที่ประจักษ์ชัดเท่านั้นที่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ
เช่น กรณีต้องคำพิพากษาให้จำคุก ก็อยากให้เป็นกรณีที่อัยการยื่นฟ้องแล้วให้ศาลรัฐธรรมนูญ
วินิจฉัยตามนั้น หรือประกาศตามนั้นเลย ส่วนกรณีที่ต้องตัดสินใจเชิงอัตวิสัย เช่น กรณีการขัดกัน
แห่งผลประโยชน์ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องอาศัยความไว้วางใจ ก็ควรให้ฝ่ายการเมืองซึ่งเป็น
ตัวแทนของประชาชนเป็นผู้วินิจฉัยเองว่านักการเมืองผู้นั้นสมควรได้รับความไว้วางใจต่อไป
หรือไม่
สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 3 ฝ่ายการเมืองต่างก็มีจุดอ่อน คือ หนึ่ง ฝ่ายตุลาการอาจมีจุดอ่อนในเรื่องของจุดยึดโยงของ
นอกจากนี้ จรัญ ภักดีธนากุล ยังได้สะท้อนมุมมองเพิ่มเติมว่า ทั้งฝ่ายตุลาการและ
ประชาชน ดังนั้นการใช้อำนาจของฝ่ายตุลาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อำนาจไปตัดสินคดี
ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ก็ควรจะต้องใช้อำนาจด้วยความระมัดระวัง กล่าวคือ จะต้องดูแล